ประเพณีล่า ‘วาฬหัวทุย’ ตามวิถีชาวบ้าน ฤดูกาลเพื่ออยู่ความอยู่รอด หรือต้องอดตาย

* ภาพประกอบเนื้อหามีความรุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน *

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกล่าปลาชนิดใหญ่นั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่ยอมรับในระดับสากล แต่ยังคงไม่สามารถบังคับใช้ในทุกประเทศได้ อันเนื่องมาจากประเพณีและความเชื่อภายในท้องถิ่น

ภายในบริเวณเกาะเลิมบาตา ของประเทศอินโดนีเซีย ยังคงสืบสานประเพณีท้องถิ่นตามวิถีชีวิตชาวบ้านบนเกาะ ที่ทำการล่าวาฬหัวทุย (วาฬสเปิร์ม) มานานกว่า 6 ทศวรรษแล้ว

 

 

ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นภาพถ่ายจาก Claudio Seber ช่างภาพชาวสวิตเซอร์แลนด์ เผยให้เห็นกรรมวิธีของเหล่าพรานวาฬ ใช้หอกปลายแหลมจากทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำในการออกล่าวาฬหัวทุย

 

 

“เราอยู่ในยุคเครื่องจักรแล้ว แต่จำนวนวาฬที่เราล่าในแต่ละปีไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่นัก แม้จะมีการใช้เรือยนต์มาทดแทนเรือแจวก็ตาม” Yosef Bataona ผู้นำประจำหมู่บ้าน Lamalera กล่าว

“ในปีที่แล้วเราล่าวาฬได้ 25 ตัว บางปีเราจับได้ 40 ตัว แต่บางครั้งก็ไม่ได้เลย เฉลี่ยแล้วเราจะล่าวาฬหัวทุย 3 ตัวต่อปี เพื่อนำมาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงครอบครัว”

 

 

“พวกเราเชื่อว่าวาฬเหล่านี้คือสิ่งที่พระเจ้าประทานมาให้ รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้พวกเราสืบสานประเพณีต่อไป ดำรงชีวิตตามวิถีดั้งเดิมของชาวบ้าน”

“พวกเขาอาจมีการปรับเปลี่ยนกฎตามขอบเขตการออกล่า เนื่องจากกระทรวงประมงและการเดินเรือต้องการจะอนุรักษ์กระเบนราหูและเต่า

แต่เราจะไม่ทำตามกฎเหล่านั้นเพราะมันเป็นเรื่องของการอยู่รอด เราไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ถ้าจะให้ล่าแต่วาฬอย่างเดียว ดังนั้นเราควรจะได้รับข้อยกเว้นและปฏิบัติตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเรา”

 

 

ทางรัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ทำการเซ็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมปลาวาฬในปี 1986 อนุญาตให้บางชนเผ่าสามารถสืบสานประเพณีดังกล่าวต่อไปได้

รัฐบาลอินโดนีเซียได้ปิดตาหนึ่งข้างสำหรับกรณีดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้เป็นการกระทำในเชิงพาณิชย์ แต่เป็นการกระทำเพื่อดำรงชีพอย่างบริสุทธิ์ใจ

 

 

“เมื่อไม่นานมานี้ พวกเราถูกสื่อทั่วโลกกดดันอย่างหนัก แต่ไม่มีใครเข้าใจสถานการณ์ของเราเลย ชาวบ้านที่นี่ยังชีพด้วยข้าวหนึ่งช้อนกับฝักข้าวโพด…

บนเกาะไม่มีดินที่อุดมสมบูรณ์ ภูมิประเทศมีแต่หิน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการปลูกพืชบนเกาะ พวกเราจึงไม่มีทางเลือกนอกจากใช้ข้อได้เปรียบจากทะเลที่มอบให้แก่เรา”

“ตราบใดที่ไม่มีใครมอบเงินเดือนให้เราพอสำหรับการดำรงชีพ เราจำเป็นจะต้องสืบสานประเพณีต่อไป” Yosef Bataona กล่าวปิดท้าย

 

 

ทางด้านกลุ่มอนุรักษ์ได้เคยออกเตือนชาวบ้านไปหลายหนแล้ว เพราะพวกเขาทำการล่าสัตว์น้ำทางทะเลที่นอกเหนือจากวาฬหัวทุย ทั้งปลากระเบน โลมา และปลาฉลาม จากการใช้เรือยนต์ออกล่าตลอดทั้งปี เพื่อนำมาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงคนในหมู่บ้าน

 

.

 

ในปี 2010 กระทรวงท่องเที่ยวอินโดนีเซียและองค์กร WWF ได้เข้ามาพูดคุยหารือกับชาวบ้าน ทำให้บางคนรู้สึกไม่พอใจนำมีดล่าวาฬมาไล่นักอนุรักษ์ออกจากหมู่บ้าน อ้างว่าพวกเขามีชีวิตที่ปกติดี ไม่จำเป็นต้องให้รัฐบาลมาควบคุม

ภายหลังทหาร 10 รายจึงเข้ามาห้ามปราบ ยืนต่อหน้าชาวบ้านนับร้อยที่พร้อมจะทำร้ายนักอนุรักษ์ได้ทันที จนสามารถเจรจาหารือกันได้ในภายหลัง แต่ยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่ายได้

 

ที่มา: dailymail, nytimes, bbc

Comments

Leave a Reply