รู้จักกับ ‘ปลาปอดแอฟริกา’ ที่สามารถอยู่รอดได้เป็นเดือนๆ แม้ไม่มีน้ำสักหยด!?

อย่างที่รู้กันดีว่า ‘ปลา’ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ และเมื่อไหร่ก็ตามมันไปอยู่ในที่ที่ไม่มีน้ำ นั่นอาจเป็นจุดจบของพวกมัน

 

แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่ามีปลาบางชนิดที่สามารถมีชีวิตรอดได้ แม้น้ำจะแห้งแบบแห้งสนิทแล้วก็ตาม แถมยังอยู่ได้นานเป็นเดือนๆ ด้วยนะเออ!!

ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ ปลาปอดแอฟริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ African Lungfish เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง และเป็นปลาจำพวกเดียวที่ในปัจจุบันที่สามารถหายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วๆ ไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น

 

 

ปลาปอดนั้นเป็นสัตวที่สืบสายพันธุ์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงปัจจุบัน และเพราะเหตุนี้เองจึงสามารถยืนยันได้ว่าปลาวิวัฒนาการมาจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

เจ้าปลาปอดนี้จะมีลักษณะเป็นปลาโบราณ มีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ลักษณะกระดูกส่วนแขนขาคล้ายกับสัตว์ชั้นสูง กล่าวคือครีบทั้งสี่ของมันนั้นทำหน้าที่เป็นแขนและขามาก่อนที่จะวิวัฒนาการกลายเป็นครีบในภายหลังนั่นเอง

ที่พิเศษก็คือเจ้าปลาปอดนี้จะมีอวัยวะที่ชื่อว่า “กระเพาะลม” ที่หนามากตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหน้าอกของมัน และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะอาหารทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจน

 

 

ซึ่งปลาทั่วไปนั้นจะใช้กระเพาะลมในการพยุงตัวในขณะที่ว่ายน้ำเท่านั้น ไม่ได้มีไว้หายใจเหมือนกับปลาปอดแต่อย่างใด

อีกความแตกต่างหนึ่งที่ทำให้มันไม่เหมือนกับปลาธรรมดาทั่วไปก็คือ มีท่อที่เชื่อมต่อระหว่างกระเพาะลมกับช่องปาก นั่นหมายความว่ามันมี “จมูก” ที่ใช้หายใจนั้นเอง

 

 

จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมันถึงสามารถอยู่รอดได้นานเป็นเดือนๆ แม้ไม่มีน้ำให้มันเลยสักหยด!!

 

ในช่วงหน้าแล้ง เจ้าปลาปอดแอฟริกานี้จะทำการขุดโพรงไว้ใต้โคลน จากนั้นก็ปิดผนึกปากทางด้วยเมือก ระหว่างนั้นพวกมันจะหายใจเอาอากาศโดยตรงผ่านทางจมูก

 

 

ในระหว่างนั้นมันก็ต้องลดการเผาผลาญพลังงานลงอย่างรวดเร็ว เพราะต้องอยู่รอดเป็นระยะเวลานานโดยไม่พึ่งพาอาหาร ขณะเดียวกันเจ้าปลาปอดนี้สามารถจมน้ำตายได้ จึงทำให้มันต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ

 

 

เจ้าปลาปอดต้องจำศีลอยู่ใต้ดินจนกระทั่งฤดูฝนอีกครั้ง เมื่อน้ำไหลมาทำให้ดินนิ่ม มันก็จะโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในน้ำต่อไป

 

 

เราลองไปชมหน้าตาของปลาปอดที่อาศัยอยู่ใต้ดินในหน้าแล้งกันสักหน่อยผ่านคลิปวิดีโอข้างล่างนี้ได้เลยจ้า…

 

ที่มา : wikipedia, spnl, whozooallyouneedisbiology

Comments

Leave a Reply