“ถังข่าหนังมนุษย์” งานศิลปะที่แสนทารุณ ซึ่งต้องแลกมาด้วยชีวิตของทาสชาวทิเบต

((บทความต่อไปนี้อาจมีภาพและเนื้อหาที่ทำให้คุณไม่สบายใจ และอาจกินหมูจุ่มไม่อร่อย))

 

“ถังข่า” งานพุทธศิลป์อันมีเอกลักษณ์ของชาวทิเบต ซึ่งเป็นการวาดภาพของพระโพธิสัตว์หรือสถานที่ต่างๆ ตามความเชื่อของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน และถูกนำประดับตกแต่งอยู่ทั่วไปตามศาสนสถานนั่นเอง

งานศิลปะนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในดินแดนหลังคาโลก และไม่น่าเชื่อว่าในอดีตความสวยงามแบบนี้ไม่ได้ถูกวาดเอาไว้บนผืนผ้าใบเท่านั้น แต่มันยังถูกวาดเขาไว้บนผิวหนังมนุษย์ด้วยเช่นกัน…

 

 

นี่อาจจะเป็นเพียงแค่งานศิลปะธรรมดาๆ คล้ายกับรอยสักถ้าหากว่ามันไม่ได้ถูกเขียนเอาไว้บนตัวของทาส ก่อนที่เจ้าของทาสรายนั้นจะใช้วิธีถลกหนังออกมาอย่างทารุน

ถังข่าหนังมนุษย์ คืองานศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมและความโหดร้ายของทาสเกษตรกรรมของทิเบตในสมัยก่อน ซึ่งพวกเขามีฐานะเป็นหนึ่งในสมบัติของนายจ้าง

 

.

 

ว่ากันว่างานทาสเกษตรในทิเบตนั้นขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายและทารุณไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกรรมวิธีให้ได้มาซึ่งถังข่าหนังมนุษย์นี้ นายจ้างจะนำทาสที่ถูกคัดเลือกแล้วมาวาดลวดลายต่างๆ ลงไป

 

.

 

จากนั้นพวกเขาจะทำการเจาะรูที่ผิวหนังลึกประมาณ 2 เซนติเมตร และค่อยๆ หยอดปรอทลงไปทีละนิดเพื่อให้ผิวหนังกับร่างกายแยกออกจากกัน และถลกหนังออกมากลายเป็นถังข่าหนังมนุษย์อย่างที่เราได้เห็นกัน

ปัจจุบันถังข่าหนังมนุษย์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ผืนหนึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งเหอหนาน ในประเทศจีน

 

 

นับว่าเป็นงานศิลปะที่แลกมาด้วยความโหดร้ายทารุณจริงๆ

 

ที่มา blog.sinaThangka

Comments

Leave a Reply