10 ข้อความจากทวิตเตอร์ เกี่ยวกับชีวิตของคน Gen Y ที่อ่านแล้วบอกเลยว่า นี่มันตรูชัดๆ

คนเจนวาย คืออะไร? เจเนอเรชันวาย หรือ Millennials คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี 1980 ถึงราวๆ ช่วงต้น ของปี 2000 คนพวกนี้มักจะเติบโตขึ้นมาในความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างของแต่ละรุ่น แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาด้วยเช่นกัน ว่าง่ายๆ ก็วัยมหาลัยไปจนถึงวัยทำงานใหม่ๆ นั่นเอง

ว่าแล้วก็ไปดู 10 ข้อความจากทวิตเตอร์ เกี่ยวกับชีวิตของคนเจนวาย กันดีกว่า เชื่อว่าต้องมีคนเจนวาย ออกมาพูดกันบ้างล่ะว่านี่มันชีวิตตรูเลยชัดๆ

 

สรุปชีวิตคนเจนวาย ในหนึ่งข้อความ

ทำไมการมีชีวิตมันแพงจังเลย ใช่ว่าฉันจะมีความสุขเสียหน่อย

 

ต้องจ่ายเงินค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าอาหาร ค่าโน้นค่านี่ แถมพรุ่งนี้ต้องไปทำงานอีก ไม่เอาด้วยล่ะ

ลิงก์ในโพสต์ “คนเจนวายพบว่าการออกไปข้างนอกมันเลวร้าย”

 

บางคนบอกว่า “คนเจนวาย ไม่ยอมเปิดประตูถ้าเขาไม่อยากให้ใครมาหา” ก็พอรู้แล้วล่ะว่าทำไมยุค 70 ถึงมีฆาตกรต่อเนื่องเต็มไปหมด

 

32% ของคนเจนวาย ยอมบอกเลิกแฟนเพื่อที่จะได้เงินมากขึ้น 37,000 ดอลล่าร์ (ราวๆ 1,160,000 บาท)

โด่ๆ ถ้าเพื่อเงินเยอะขนาดนั้น 32% ของคนเจนวาย ยอมหักกระดูกขาตัวเองด้วยซ้ำ

 

อยากรู้สึกโดนล้อไหม ใส่ยีนขาดหัวเข่าไปในงานรวมญาติสิ

โถ่ คุณย่า ก็บอกว่ามันเป็นแฟชันไง

 

เจเนอเรชัน Y เป็นเจเนอเรชั่นที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดในเวลาเดียวกัน

นักกีฬาโอลิกปิกวัยทีน ตื่นสาย ลืมเสื้อ พูดคำหยาบออกทีวี และนำเหรียญทองกลับมาให้สหรัฐอเมริกา

 

“พวกเจนวาย มันปัญญาอ่อน”

คำพูดจากปากของคนเจเนอเรชันที่เลี้ยงหินเป็นสัตว์เลี้ยง

 

Pet Rock โด่งดังในช่วงปี 1975

ผู้คนไม่ได้โกหกหรอก ตอนทีี่บอกว่าช่วงอายุ 18-24 มันแปลกประหลาด ฉันมีเพื่อนที่ประกาศหมั้น มีเพื่อนที่มีลูก มีเพื่อนที่ใช้เครื่องซักผ้าไม่เป็น แล้วก็เพื่อนที่ออกไปใช้เงินเป็นว่าเล่น ฉันล่ะงงจริงๆ

 

วันหยุดแบบที่ฉันอยากได้

1 อาทิตย์สำหรับทำความสะอาดทุกสิ่ง

1 อาทิตย์สำหรับ การนอน

1 อาทิตย์ที่ไม่ต้องคุยกับใคร

1 อาทิตย์ที่ฉันทำอาหารได้โดยไม่ต้องล้าง

2-3 วันที่ไม่ต้องตัดสินใจอะไรเลย

 

ถ้าเราสักที่หน้ากันทุกคน ก็จะไม่มีใครจ้างงานพวกเราได้เลยสินะ

แล้วพวกเขาก็จะไม่มีแรงงาน ส่วนพวกเรา… ก็อาจจะอดตาย

 

เกิดเป็นคนเจนวาย นี่มันเหนื่อย

แต่จะว่าไป เจนไหนๆ มันก็เหนื่อยเหมือนกันล่ะนะ

 

ที่มา buzzfeed

Comments

Leave a Reply