10 เหตุการณ์ทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อจิตใจ และมันพยายามจะเล่นสนุกกับเราอยู่เสมอ

จิตใจของเราเป็นสิ่งที่ซับซ้อนอย่างมากเพราะไม่อาจเห็นชัดเป็นรูปธรรมได้อย่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่มันกลับเป็นสิ่งสำคัญที่ควบคุมและมีความสัมพันธ์กับแทบทุกอย่างที่เป็นเรา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม ความคิด หรือบุคลิกภาพ

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับจิตใจของตัวเอง แถมบางเรื่องยังอาจสามารถกำหนดชีวิตเราได้อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

วันนี้เราจึงชวนให้เพื่อนๆ ได้มารับรู้เกี่ยวกับ 10 ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันแปลกประหลาด จนทำให้เราแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาโดยไม่รู้ตัว จะมีอะไรบ้าง เราลองไปดูกันเลย

 

1. Halo Effect

นี่เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในตอนที่เราดูโฆษณาผลิตภัณฑ์อะไรบางอย่าง เรามักจะตัดสินว่าตัวสินค้านั้นดีไม่ดีขึ้นอยู่กับดาราหรือคนดังที่เป็นคนนำเสนอสินค้านั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะคิดว่าคนที่มีชื่อสียงคือคนที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบมากๆ เราจึงคิดว่าสินค้าที่พวกเขานำเสนอเองก็คงจะดีไม่แพ้กัน

 

2.  Bystander Effect

ปรากฏการณ์ทางสังคมอันน่าเศร้านี้เกิดขึ้นในตอนที่เวลาเราอยู่ท่ามกลางฝูงชน คนเยอะๆ แล้วมีคนต้องการความช่วยเหลือ เรามักจะไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเขาคนนั้นเพราะลึกๆ แล้วเราคิดว่าเดี๋ยวคนอื่นก็คงมาช่วยเอง

ก่อนหน้านี้ได้มีงานวิจัยที่ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าวชัดยิ่งขึ้นนั่นคือ เมื่อไหร่ที่มีคนหนึ่งในฝูงชนพร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยแล้ว คนอื่นๆ จะตามไปช่วยด้วยเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าตัวแปรสำคัญคือคนที่จะลุกออกไปช่วยเป็นคนแรกนั่นเอง

 

3. Spotlight Effect

เราอาจเคยมีความคิดประมาณว่าวันนี้ฉันดูซุ่มซ่ามเกินไปหรือเปล่า? ฉันแต่งตัวเข้ากับงานปาร์ตี้มั้ยนะ? ซึ่งความคิดเหล่านั้นอาจเกิดจากการที่เราคิดว่ามีสปอร์ตไลต์สาดส่องมาที่ตัวเองอยู่เสมอ เหมือนกับถูกทุกคนจับจ้อง คอยจับผิดทุกย่างก้าว มีคนมองและจะตัดสินเราตลอดเวลา แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย

 

4. Online Disinhibition Effect

สื่อในปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมากต่อปรากฏการณ์นี้ เพราะนี่คือสิ่งที่เป็นเบื้องหลังของเหล่าคนที่ชอบยั่วยุหรือกลั่นแกล้งคนอื่นๆ ในโลกไซเบอร์ เมื่อไหร่ที่เราเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เรามีแนวโน้มที่จะก้าวร้าว ตัดสินคนอื่น และหยาบคายมากกว่าที่เราแสดงออกมาในชีวิตจริง

นั่นเป็นเพราะว่าเราไม่ได้อยู่ต่อหน้าคนที่พูดด้วย ทำให้เราเลือกที่จะปลดปล่อยอารมณ์ความโกรธหรือเกรี้ยวกราดออกมาอย่างเต็มที่ แทนที่จะสงบและสุภาพเหมือนอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง

 

5. Cheerleader Effect

เหล่าเชียร์ลีดเดอร์มักจะเป็นกลุ่มที่เต็มไปด้วยคนหน้าตาดี แต่นั่นก็ไม่ใช่ทุกคนเสมอไป นั่นจึงกลายเป็นที่มาของชื่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจเรา คือการที่คนคนหนึ่งจะดูดีขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนที่มีเสน่ห์น่าดึงดูด

ที่เรามองเป็นแบบนั้นเพราะว่า สมองของเราคำนวณหาค่าเฉลี่ยความมีเสน่ห์โดยรวมของกลุ่มๆ หนึ่ง แทนที่จะมองแยกเป็นรายคนไป จากตอนแรกที่เรามองคนนี้ไม่สวยเท่าไหร่ พอเธออยู่ในกลุ่มเพื่อนก็อาจสวยขึ้นมามากว่าเดิม

 

6. Dunning-Kruger Effect

เราอาจเคยเห็นมือใหม่บางคนก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จ ในขณะที่มืออาชีพบางคนกลับไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ นั่นเพราะว่าคนที่เป็นมือใหม่มีความคุ้นเคยกับสิ่งๆ นั้นน้อยกว่าและมองข้ามข้อบังคับต่างๆ ไป มองว่าตัวเองสามารถก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดไปได้และหมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ

ขณะเดียวกัน คนที่เป็นมืออาชีพมักจะมองว่าตัวเองเก่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มอีก จึงทำให้ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้

 

7. เดจาวู (Déjà Vu)

มันมีความหมายว่า “เห็นไปแล้ว” เป็นสิ่งที่มักจะทำให้พวกเราคิดว่าตัวเองมีพลังจิตมองเห็นอนาคตได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้เราเคยเห็นมาก่อนแล้ว ซึ่งปรากฏการณ์ทางจิตดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเกิดจากอะไร

 

8. Google Effect

Google กลายเป็นตัวการหลักที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะว่าเราสามารถหาคำตอบของเกือบทุกสิ่งได้จาก Google อยู่แล้ว ลึกๆ ของเราเลยเลือกที่จะพึ่งพามันหรือการหาคำตอบในอินเตอร์เน็ตที่ง่ายแสนง่าย

 

9. แพริโดเลีย (Pareidolia)

มันคือปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงทำให้เรามองสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง อย่างเช่นมองว่าชิงช้าหน้าตาเหมือนนินจาเต่า หรือมองภาพด้านล่างว่าเหมือนกับฉากหนึ่งในสไปเดอร์แมน

.

 

10. Broken Escalator Phenomenon

นี่คือสิ่งที่ส่งผลต่อเราในทางกายภาพ มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนที่เราคาดหวังว่าจะเกิดอะไรสักอย่างแต่ดันไม่เกิด ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เห็นได้ชัด เช่น ตอนที่เราลงบันไดแบบไม่ได้มองแล้วคิดว่ามันยังเหลืออีกขั้น แต่ความจริงมันไม่มีแล้ว หรือตอนที่เราขึ้นบันไดเลื่อนที่คิดว่ามันจะพาเราขึ้นไป แต่มันดันไม่ขยับซะอย่างงั้น

ปรากฏการณ์นี้จะทำให้เรารู้สึกวิงเวียน เมาหัวเล็กๆ งุนงงกับสิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์เหมือนกับว่าเดินสะดุดขาตัวเอง

 

และนี่คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน แสดงให้เห็นว่าต้นตอของเรื่องบางเรื่อง แท้จริงแล้วมันอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในของตัวเราเองทั้งนั้นแหละ

 

ที่มา: brightside

Comments

Leave a Reply