ตำราคุมโทนสีแต่กาลก่อน Werner’s Nomenclature of Colours สำหรับศิลปินและนักธรรมชาติวิทยา

การสร้างผลงานศิลปะทั้งภาพเขียนและภาพถ่ายนั้น ปัจจัยสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ “สี” เพราะสีจะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา มีมิติ และสะท้อนอารมณ์ของภาพได้ดียิ่งขึ้น

 

 

ปัจจุบันยังมีการถ่ายภาพที่เน้นเรื่องการกำหนดสีที่เรียกกันว่า “คุมโทน” ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายภาพที่นิยมมากทีเดียว แต่ทราบหรือไม่ว่า มีตำราคุมโทนสีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว ก่อนที่จะมีกล้องถ่ายรูปเสียอีก

 

 

Werner’s Nomenclature of Colours คือหนังสือที่รวบรวมสีต่างๆ บนโลกมาจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นโทนๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางให้กับศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ และนักมานุษยวิทยา

หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 ในหนังสือจะไม่มีภาพประกอบ (เพราะยังไม่มีกล้องถ่ายรูป) แต่มีเพียงตัวอย่างสีกับคำอธิบายถึงสีนั้นๆ ว่าสามารถพบเห็นได้ที่ไหน

 

คุมโทนไหมล่ะ

 

 

มีตัวอย่างกำกับว่าสีต่างๆ สามารถพบเจอได้ที่ไหน

 

จำแนกสีได้อย่างละเอียดเลยทีเดียว

 

ระบบการจำแนกสีถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยนักแร่วิทยาชาวเยอรมันชื่อว่า Abraham Gottlob Werner แต่หลังจากนั้นเขาก็มีการเปรียบเทียบสีต่างๆ กับพืช สัตว์ และสิ่งของเพื่อกำหนดชื่อให้สีเหล่านั้น

 

โทนส้ม โทนน้ำเงินก็ว่ากันไป

 

ส่วนนี่ก็โทนเขียว

 

จัดเรียงอย่างสวยงาม

 

หนังสือปี 1814 เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์อีกครั้งโดย Smithsonian Books เพื่อให้ออกมาเป็นสมุดขนาดเล็กๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสีต่างๆ ในประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงถึงคนรุ่นปัจจุบัน โดยหนังสือเล่มนี้จะออกวางขายในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 นี้

 

เหล่าศิลปินทั้งหลายไม่ควรพลาดที่จะหามาเก็บไว้สักเล่มแล้วแบบนี้ เพราะมันมีค่าทั้งในด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และยังมีค่าในเชิงประวัติศาสตร์อีกด้วย

ที่มา: Thisiscolossal

Comments

Leave a Reply