ถึงกับงง… “หมีด่าง” ส่วนผสมของน้ำตาลและขาว บนเกาะห่างไกลของญี่ปุ่น-รัสเซีย

เรารู้ดีว่าหมีน้ำตาลก็ต้องมีสีน้ำตาล หมีขาวก็ต้องมีสีขาว แต่ภาพของหมีบนเกาะ Kunashir นี้จะทำให้คุณรู้สึกสับสนอย่างมาก เพราะนี่คือหมีน้ำตาลที่มีขนสีขาว!!

ภาพดังกล่าวถูกถ่ายโดยช่างภาพที่ชื่อว่า Viktor Nikiforov ขณะที่เขากำลังเดินทางลงใต้ไปเก็บภาพสิ่งต่างๆ บนฝั่งอาร์กติก เขาก็ได้เจอเข้ากับหมีตัวหนึ่งบนเกาะอันห่างไกล ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ว่าขนของมันตรงช่วงบนจะเป็นสีขาว ในขณะที่ช่วงล่างจะออกเป็นสีดำ

 

หมีด่าง ที่ถูกพบว่ามีสีต่างกัน

 

เกาะ Kunashir

 

Viktor ถึงกับงงจนคิดว่าเจ้าหมีสีน้ำตาลตัวนี้อาจเป็นผลมาจากการผสมพันธุ์กันกับหมีขั้วโลกก็เป็นได้ และอีกหนึ่งสิ่งที่พิเศษพอๆ กับเรื่องของสีขนก็คือ เกาะ Kunashir นั้นเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่น่าจะมีหมีสีน้ำตาลมาอาศัยอยู่ได้เลย

เกาะที่ว่านี้ตั้งอยู่บริเวณใจกลางระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย จึงทำให้ทั้งสองประเทศเริ่มตั้งข้อสงสัยกันว่าหมีสีน้ำตาลเหล่านี้มันโผล่มาได้อย่างไร

 

แผนที่ที่ตั้งของเกาะดังกล่าว

.

 

ฝั่งหนึ่งบอกว่าชาวญี่ปุ่นเป็นคนอพยพมันมาไว้บนเกาะ ส่วนอีกฝั่งก็บอกว่าเจ้าหมีเดินเท้าข้ามทะเลมาในตอนที่น้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง เพื่ออพยพออกมาจากแถวคาบสมุทรคัมชัตคา

ทางด้านศาสตราจารย์ Noriyuki Ohtaishi จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดได้ออกมาอธิบายว่า สีขนของเจ้าหมีน่าจะเกิดจากการแบ่งแยกและกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพราะมันมาโผล่ที่เกาะ Kunashir และ Iturup ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสองประเทศ นี่จึงอาจเป็นการปรับตัวรูปแบบหนึ่ง

 

ศาสตราจารย์ Noriyuki Ohtaishi

.

 

ยังมีบางส่วนที่บอกว่าหมีบนเกาะนั้นน่าจะมาจากแหล่งกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น เพราะส่วนใหญ่พวกมันมักจะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเกาะที่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่น แต่บางส่วนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเกาะก็มีความใกล้เคียงกับหมีที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรคัมชัตคาเหมือนกัน

 

.

 

ในเรื่องของสีที่ดูงงๆ เหมือนกับไม่รู้ว่ามันจะเป็นสีไหนกันแน่ระหว่างขาวกับดำ เรื่องนี้ก็จะเริ่มมีการค้นคว้าและวิจัยในช่วงฤดูหาปลาของเจ้าหมี ภายในปี 2018 นี้อย่างแน่นอน

 

 

กล้องที่ถูกซ่อนเอาไว้เก็บภาพเจ้าหมีทั้งหลาย

 

ภาพที่ถ่ายได้โดยกล้องกับดัก

 

เราจึงต้องรอดูกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับเจ้าหมีคืออะไรกันแน่ หรือว่าแท้จริงแล้วพวกมันอาจจะเป็นหมีสายพันธุ์ใหม่ก็เป็นได้

 

ที่มา: siberiantimes

Comments

Leave a Reply