เมื่อ PM 2.5 ฝุ่นพิษปกคลุมกรุงเทพ นี่คือ 4 เรื่องที่คุณควรรู้ ว่าจะรับมือมันอย่างไร!?

ขณะนี้ชาวกรุงเทพฯ กำลังประสบปัญหากลุ่มหมอก กลุ่มฝุ่น หรือกลุ่มควันบางอย่างที่ปกคลุมไปทั่วเมือง โดยเจ้ากลุ่มก้อนหมอกฝุ่นควันอะไรพวกนี้ถูกเรียกว่า PM 2.5 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่า PM 2.5 มันคืออะไร มันมาจากไหน และมันเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมันกันดีกว่า…

 

cr. กรมควบคุมมลพิษ

 

1. PM 2.5 คืออะไร

 

PM 2.5 ฝุ่นอนุภาคขนาดจิ๋ว ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 25 เท่า เข้าสู่ร่างกายทางโพรงจมูก ก่อนจะเข้าสู่เส้นเลือด และเกิดเป็นโรคต่าง ๆ โดยเฟซบุ๊กเพจ Greenpeace Thailand ออกมาได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเจ้า PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน

ซึ่งประกอบไปด้วยสารพิษหลากชนิด ได้แก่

1. P-A-Hs คือสารพิษชนิดหนึ่งที่ทำให้เป็นมะเร็ง

2. ปรอท ทำลายระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต มะเร็ง

3. สารหนู ทำให้เป็นโรคผิวหนัง หากถูกสารนี้ จะมีอาการมึนเวียน ตัวชา อยากอาเจียน

และ 4. แคดเมียม ที่จะกัดส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ปอด กระดูก

 

Cr. aqicn

 

2. มันมาจากไหน จะอยู่อีกนานหรือเปล่า

 

เจ้าสารพิษพวกนี้เป็นมลพิษที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งควันบุหรี่ โดยปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทยนั้น วัดระดับความเป็นสารพิษในประเทศเพียงแค่ PM 10 ซึ่งเป็นสารพิษที่มีอนุภาคขนาดใหญ่เท่านั้น

ทำให้เจ้าพวกสารพิษ PM 2.5 ที่มีมีอนุภาคที่เล็กไม่ได้ถูกนำมาคำนวณเพื่อชี้วัดระดับมลพิษในอากาศของประเทศนั่นเอง และยังไม่มีข้อมูลว่าสารพิษ PM 2.5 นั้นจะอยู่อีกนานเท่าไหร่ อาจจะอยู่จนกว่าจะมีมาตรการป้องกันและลดสารพิษนี้ออกมา

 

Cr. greenpeace.org

 

3. ควรป้องกันอย่างไร

 

การป้องกันเบื้องต้นคือการสวมหน้ากากอนามัยซึ่งป้องกันได้ไม่มากนัก (แพทย์แนะนำให้ใช้หน้ากากรุ่น N95 ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป)

ทางออกที่ดีก็คือ ร่วมกันลงชื่อรณรงค์ให้ทางกรมควบคุมมลพิษของประเทศนั้นมีมาตรการควบคุมมลพิษจากทั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงผลิตไฟฟ้า หรือกระทั่งควันจากท่อไอเสียก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั่นเอง

 

Cr. greenpeace.org

 

4. การปฏิบัติตัวอื่นๆ

 

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น พยายามอยู่ในที่ปิด หลีกเลี่ยงที่กลางแจ้ง ทุกท่านจึงควรติดตามข่าวสารเพื่อให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีสารพิษ PM 2.5 อยู่มาก

การป้องกันตัวเองเบื้องต้นก็คือการสวมหน้ากากอนามัย รวมไปถึงช่วยกันลงชื่อรณรงค์ให้ทางกรมควบคุมมลพิษของประเทศนั้นมีมาตรการควบคุมมลพิษที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

 

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, Drama-addict, Greenpeace, kapook, และ Facebook(Greenpeace)

Comments

Leave a Reply