พจนานุกรมญี่ปุ่นให้ความหมายคำว่า “โอตาคุ” ว่าเป็น “ผู้ขาดสามัญสำนึกทางสังคมทั่วไป”

เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาสำนักพิมพ์ Iwanami Shoten ของญี่ปุ่นได้พิมพ์พจนานุกรมยอดนิยมของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Kojien เป็นครั้งที่ 7 ซึ่งในการพิมพ์ใหม่ครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์เก่าๆ และระบุคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยไว้เป็นจำนวนมาก

 

 

ถึงอย่างนั้นการเปลี่ยนความหมายของคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ว่านั้น กลับได้ผลตอบรับที่ไม่ดีเท่าที่ควร โดยที่ทาง Iwanami Shoten นั้นได้ระบุความหมายของ “LGBT” ผิดโดยระบุว่าเป็น “ผู้คนที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่” ซึ่งในส่วนของ Lesbian, Gay และ Bisexual นั้นจริงอยู่ว่าระบุเป็น “รสนิยมทางเพศ” ได้ แต่ Transgender จริงๆ แล้วเป็น “อัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละบุคคล” ต่างหาก

 

 

ครั้งนี้ก็เช่นกันเมื่อกลุ่มแฟนๆ เดนตายของ เกม อนิเมะ หรืองานอดิเรกอื่นๆ หรือที่รู้จักกันว่า โอตาคุ ออกมาแสดงความไม่พอใจกับการให้ความหมายของ โอตาคุ ของสำนักพิมพ์ Iwanami Shoten  ที่ระบุว่า

“โอตาคุ:

1. วิธีการในการพูดอย่างเคารพถึง บ้านของบุคคลที่พูดด้วย

2. วิธีการในการพูดอย่างเคารพถึง สามีของบุคคลที่พูดด้วย

3. วิธีการในการพูดแทนอย่างเคารพถึง บุคคลที่พูดด้วย

4. (มักเขียนด้วย คะตะกะนะ) คนที่มีความกระตือรือร้นหรือความชอบที่มากผิดปกติเกี่ยวกับสาขา หรือสิ่งของใดๆ เป็นการเฉพาะ แต่มีความสนใจในเรื่องอื่นๆ อย่างจำกัด ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ห่างไกล หรือห่างเหินกับสังคมโดยรวม คำๆ นี้ยังใช้กันโดยทั่วไปเพื่ออ้างอิงถึงคนที่ถูกดึงดูดอย่างเหลือล้นในงานอดิเรกเฉพาะของพวกเขา”

แม้ว่าภาพลักษณ์ของโอตาคุอนิเมะและเกมจะโดนเหมารวมว่าเป็นพวกไร้เพื่อนไร้สังคมที่อยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้ดูตัวละครในอนิเมะที่ชอบ แต่แท้จริงแล้วแม้แต่ในหมู่โอตาคุเองก็ยังมีกลุ่มโอตาคุที่เรียกว่า “โอตาคุผู้อยู่กับความจริง” หรือ เรียจู-โอตาคุ ซึ่งมักถูกใช้เรียกคนที่ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทุกอย่างและเพียงแค่ชอบอะไรบางอย่างมากๆ ด้วยซ้ำ แต่ถึงจะเป็นโอตาคุที่ไร้เพื่อนเก็บตัวจริงๆ ก็ตาม การถูกเรียกที่เหมือนจะด่ากรายๆ ว่าไม่ปกติมันก็เจ็บอยู่ดี

 

 

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความหมายในพจนานุกรมฉบับใหม่นี้นั้นจะ “เบาลง” มาจากเดิมแล้ว โดยความหมายเดิมที่เคยถูกให้ไว้ใน Kojien ฉบับที่ 6 นั้นแม้ 3 ความหมายแรกจะเหมือนเดิมแต่ข้อที่ 4 นั้นนิยามคำว่าโอตาคุเอาไว้ว่า

“4. (มักเขียนด้วย คะตะกะนะ) บุคคลที่สนใจเฉพาะสาขาหรือสิ่งที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งมีระดับความรู้ในเรื่องนั้นๆ ในระดับที่มากจนผิดปกติ แต่ไม่มีสามัญสำนึกทางสังคมทั่วไป เพราะนิสัยดังกล่าว จึงถูกเรียกโดยคนรอบข้างว่า โอตาคุ”

 

 

อย่างน้อยจาก “ขาดสามัญสำนึกทางสังคมทั่วไป” ก็ลดลงมาเป็น “ไม่ปกติ” อย่างไรก็ตามจากระยะห่างของหนังสือเล่ม 6 และ 7 ที่มากกว่า 10 ปีนั้น ไม่อยากคิดเลยว่า โอตาคุจะโดนเข้าใจว่าเป็นคนไม่ปกติไปอีกนานแค่ไหน และหวังว่าเล่ม 8 ที่จะออกมานั้นจะมีความหมายที่ “เป็นกลาง” กว่านี้ของคำว่าโอตาคุออกมานะ

 

ที่มา rocketnews24

Comments

Leave a Reply