เพิ่งจะได้รู้… งานศึกษาเผย ‘ปลาหมึก’ สามารถทำปลาโลมาสำลักตายได้ แม้ตัวมันกำลังถูกกิน

เมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยได้ออกมาเปิดเผยแล้วว่า ได้ค้นพบปลาโลมาตัวหนึ่งซึ่งตายเพราะว่าพยายามจะกินปลาหมึกเข้าไป แต่ปลาหมึกดันติดคอจนหายใจไม่ออกจึงทำให้มันตาย ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่มีการพบโลมาตายในลักษณะนี้

เจ้าโลมาตัวนี้ถูกพบที่หาด Stratham ในเมืองบันบูรี ประเทศออสเตรเลียในเดือนสิงหาคม 2015 โดยตอนที่มันถูกพบนั้นมันก็ตายเสียแล้ว และก็มีหนวดปลาหมึกยื่นออกมาจากปากของมันด้วย หลังจากนั้นมันก็ถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยของ Nahiid Stephens โดยเธอตั้งชื่อเล่นให้เจ้าโลมาว่า Gilligan

Stephens นักพยาธิวิทยาจากมหาวิทยาลัยเมอร์ดอช พูดถึงสาเหตุการตายของมันว่า “มันคงจะโลภมากๆ แล้วคิดว่า ‘เอาล่ะเจ้าหมึก ฉันจะกลืนแกลงไปทั้งตัวเลย’ “ แต่เจ้าหมึกดันตัวใหญ่มากเกินไปก็เลยไปอุดหลอดลมจนตาย

 

 

เจ้าโลมาตัวนี้ไม่ได้เป็นโลมาตัวแรกที่กินปลาหมึก โลมาตัวอื่นก็กินปลาหมึกเป็นอาหารเช่นกัน แต่ไม่เคยมีเหตุการณ์ปลาหมึกติดคอตายแบบนี้มาก่อน จึงถือว่าการที่โลมาหนุ่มร่างกายแข็งแรงกินปลาหมึกจนติดคอตายนั้นเป็นอะไรที่น่าสนใจมากสำหรับนักวิจัย

เมื่อการชันสูตรศพเจ้าโลมาตัวนี้ ก็พบว่าปลาหมึกที่เข้าไปติดคอมันตัวใหญ่มากเลย เธอเล่าว่า “เจ้าปลาหมึกมันตัวโตมากจริงๆ ตอนที่ฉันนพยายามดึงมันออกมาดู ในใจก็ได้แต่คิดว่า ‘พระเจ้าช่วย ทำไมมันยาวขนาดนี้ ดึงยังไงก็ออกมาไม่หมดสักที’ ” 

หลังจากที่ดึงมันออกมาหมดตัวด้วยความยากเย็น ก็พบว่าแค่หนวดของมันก็ยาวถึง 4.2 ฟุต (ประมาณ 1.3 เมตร) แล้ว

 

 

ปลาโลมานั้นสามารถพับส่วนที่เชื่อมต่อกล่องเสียงและหลอดลมเก็บไว้ เพื่อที่จะได้มีพื้นที่เพิ่มเติมในการกลืนอาหารชิ้นใหญ่ได้

แต่ในกรณีของเจ้าโลมาตัวนี้ พบว่าหลังจากที่มันพับเก็บส่วนที่เชื่อมต่อกล่องเสียงและหลอดลมไปแล้ว หนวดของปลาหมึกกลับไปเกาะกับส่วนนั้น ทำให้มันไม่สามารถต่อหลอดลมให้กลับมาหายใจเหมือนเดิมได้ สุดท้ายเจ้าโลมาก็เลยขาดอากาศตาย

 

 

อีกสาเหตุหนึ่งที่มันสำลักปลาหมึกตาย เป็นเพราะว่า Gilligan ไม่ยอมแยกตัวปลาหมึกก่อนที่จะกินด้วย โดยทั่วไปแล้ว ก่อนที่โลมาจะกินปลาหมึก พวกมันจะโยนปลาหมึกขึ้นไปกลางอากาศแล้วทำให้มันนุ่มลงและแยกเป็นชิ้นเล็กๆ จะได้กินง่ายขึ้น

แล้วพวกโลมาก็มักก็จะกัดแค่ส่วนหัวของปลาหมึกก่อน จึงจะค่อยกินส่วนอื่นตามทีหลังด้วย แต่ครั้งนี้โลมาหนุ่มกลับกินปลาหมึกตัวโตเข้าไปทั้งตัว จึงไม่แปลกที่มันจะไม่สามารถเคี้ยวปลาหมึกเข้าไปได้หมด

นักวิจัยบอกว่า Gilligan เป็นตัวอย่างศึกษาที่มีประโยชน์มาก ปกติแล้วโลมาที่ได้มาศึกษาจะมีร่างกายอ่อนแอจึงเกยตื้นมาตายเอง แต่โลมาตัวนี้สภาพร่างกายของมันแข็งแรงดีมาก ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นโชคดีของนักวิจัยที่จะได้ศึกษาตัวอย่างที่หายากแบบนี้

 

 

ที่มา: NationalGeographic

Comments

Leave a Reply