ที่มาของ “เฮนน่า” ศิลปะบนเรือนร่างจากยุคโบราณ ที่ยังมีศิลปินอนุรักษ์ไว้จนถึงทุกวันนี้

สำหรับใครที่ชื่นชอบงานศิลปะบนเรือนร่าง ไม่ว่าจะเป็นการสักหรือการเพนต์ร่างกาย คงจะคุ้นเคยหรือได้ยินชื่อการสักด้วยหมึกที่สามารถจางออกเองได้อย่างการสัก “เฮนน่า” กันมาบ้างแน่ๆ

อันที่จริงแล้วการสักแบบนี้ไม่ใช่ศิลปะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาบนโลกนี้หรอกนะ แต่มันถือว่าเป็นหนึ่งในศิลปะจากยุคโบราณเลยทีเดียว และวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับต้นกำเนิดของงานศิลปะชิ้นนี้กัน!!

 

 

เฮนน่ามาจากไหนกันนะ!?

อันที่จริงนั้นเฮนน่าคือชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในพื้นที่ของทวีปแอฟริกาและทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย โดยดอกของเจ้าพันธุ์ไม้ชนิดนี้มักนิยมนำมาใช้ในการทำน้ำหอม ส่วนใบของมันนั้นมักจะนำมาใช้สกัดเป็นสารเรียกว่า Lawsome ที่มีลักษณะเป็นสีส้มหรือแดงเข้ม

โดยคุณประโยชน์ของเจ้าสารสกัดที่ว่านี้ก็มีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับลดไข้ ทำให้หลับสบาย รักษาอาการปวดหัว รวมถึงย้อมสีผมและผิวได้อีกด้วย

 

 

ประวัติของการสักเฮนน่า

เมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว ศิลปะการสักเฮนน่านั้นเริ่มต้นขึ้นในแถบประเทศอินเดีย แอฟริกาและทางเอเชียตะวันออก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ระบุว่าประเทศใดเป็นผู้เริ่มต้นการใช้หมึกจากต้นไม้นี้สำหรับการทำงานศิลปะบนเรือนร่าง

แต่มีหนึ่งข้อสันนิฐานที่น่าสนใจเผยว่าการใช้หมึกดังกล่าวนั้นน่าจะมีการพัฒนามาจากแถบทะเลทราย เนื่องจากการสักเฮนน่าที่ผิวหนังนั้นจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นขึ้น

 

 

การสักด้วยหมึกดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่ของชาวฮินดูและมุสลิมเองก็มีการทำศิลปะบนเรือนร่างนี้สำหรับในงานฉลองหรือวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ

ในประเทศอินเดียนั้นพวกเขาจะเรียกวันก่อนจัดพิธีแต่งานว่า “Night of Henna” ซึ่งในวันดังกล่าวนั้นเพื่อเจ้าสาว และฝ่ายหญิงในครอบครัวของเธอจะมีการสักเฮนน่าตามร่างกาย ตามความเชื่อว่าจะเป็นการมอบความโชคดีให้กับคู่บ่าวสาว

 

 

นอกจากในประเทศอินเดียแล้ว เฮนน่ายังถูกนำไปผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอื่นๆ และมีการออกแบบลวดลายที่สื่อความหมายแตกต่างกันออกไปอีกด้วย

อย่างเช่นในแอฟริกานั้นรูปแบบของรอยสักดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตและมีความหนา ส่วนการออกแบบของชาวอาหรับนั้นจะเน้นลวดลายที่ละเอียดอ่อนและมีลวดลายที่สื่อถึงผู้หญิง

 

 

การสักเฮนน่าที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้

.

 

ที่มา mymodernmet

Comments

Leave a Reply