ทำได้ไง!! นักวิทย์พัฒนาแนวคิด ที่ทำให้ ‘พืช’ สามารถส่องแสงสว่างได้ในเวลากลางคืน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าก้าวไปเร็วจนตามแทบจะไม่ทัน และดูเหมือนว่าตอนนี้ความเจริญทางด้านวัตถุได้ก้าวไปไกลจนเกินจะเอื้อมถึง เพราะว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติอย่างต้นไม้เรืองแสงในที่มืดได้แล้ว!!

เทคโนโลยีสุดล้ำนี้ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้เผยว่าพวกเขาได้พัฒนาวิธีที่จะทำให้พืชสามารถส่องแสงสว่างในที่มืดได้แล้ว

 

 

ซึ่งพวกเขาได้ตั้งชื่อพืชอันนี้เอาไว้ว่า พืชอนุภาคนาโน เพราะว่าวิศวกรในทีมวิจัยนี้ได้ทดลองฝังอนุภาคนาโนเข้าไปในพืชที่มีชื่อว่า วอเคอร์เครส และผลของอนุภาคนาโนนี้ก็ทำให้พืชทดลองนี้สามารถส่องแสงสลัวๆ ได้ถึง 3 ชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว

และเป้าหมายต่อไปของนักวิจัยทีมนี้ก็คือ พวกเขาจะสร้างพืชที่ให้แสงสว่างมากพอพร้อมทั้งมีระยะเวลาที่ยาวนานสำหรับห้องห้องหนึ่ง และถ้าประสบความสำเร็จ พวกเขาก็คาดเอาไว้ว่าจะเปลี่ยนต้นไม้ที่อยู่ตามสองข้างถนนให้สามารถสร้างพลังงานได้ด้วยตัวเองและสามารถส่องแสงสว่างได้มากขึ้นกว่าตัวทดลอง

อีกทั้งเป้าหมายสูงสุดของทีมวิจัยนี้ก็คือ พวกเขาจะเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้มันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองอีกด้วย

 

มาลองดูความมหัศจรรย์กันดีกว่า

 

“ขั้นแรกของพวกเราคือจะทำให้พืชสามารถส่องสว่างได้เหมือนโคมไฟตั้งโต๊ะ ซึ่งแสงที่ได้นั้นจะมาจากใช้พลังงานที่อยู่ในตัวของมันเองโดยไม่ต้องเสียบปลั๊กแต่อย่างใด” Michael Strano หนึ่งสมาชิกในทีมวิจัยนี้กล่าว

ก่อนหน้าที่จะมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพืชเรืองแสง ทีมวิจัยนี้ได้เคยพยายามที่จะออกแบบพืชให้สามารถตรวจจับระเบิดแล้วรายงานผลไปที่อุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงพืชที่สามารถตรวจสอบความแห้งแล้งได้ และในที่สุดพวกเขาก็ได้หันมาผลิตพืชอนุภาคนาโนนี้แทน

สำหรับองค์ประกอบหลักๆ ที่ทำให้พืชชนิดนี้สามารถเรืองแสงได้ก็คือ เอนไซม์ลูซิเฟอเรส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในตัวของหิ่งห้อย ตัวเอนไซม์ลูซิเฟอเรสจะทำการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารลูซิเฟอรินให้กลายเป็นโมเลกุลออกซิลูซิเฟอริน ที่เป็นโมเลกุลที่ทำให้พืชสามารถปล่อยออกมาได้นั่นเอง

นอกจากนี้นักวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า พวกเขาสามารถกำหนดการเปิด-ปิดไฟในพืชได้ ด้วยการใส่ตัวยับยั้งเอนไซม์ลูซิเฟอเรสลงไป โดยตัวยับยั้งที่ว่านี้จะทำให้พืชตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมอย่าง แสงแดด ซึ่งจะทำให้เอนไซม์นี้ปิดการใช้งานโดยธรรมชาตินั่นเอง

 

ที่มา: odditycentral

Comments

Leave a Reply