นักวิทย์แนะนำ 12 ต้นไม้ที่ควรเอามาแต่งบ้าน เพราะมันช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้จริงๆ

การเก็บเกี่ยวไม่ได้เป็นจุดประสงค์เดียวจากการปลูกพืชหรอกนะ เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าการปลูกต้นไม้ในบ้าน ก็ช่วยสร้างสิ่งมหัศจรรย์ต่อสุขภาพคุณได้เช่นกัน

Marc Hachadourian ผู้อำนวยการ Nolen Greenhouses ที่สวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก ได้เผยว่าพืชเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจคุณได้ “มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่กล่าวว่าการปลูกพืชในพื้นที่อยู่อาศัยนั้น สามารถช่วยลดความเครียดลงได้”

“เห็นได้ชัดว่าการปลูกพืชและดูแลพืชในสวนนั้น สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้และยังช่วยเพิ่มออกซิเจนอีกด้วย” ตามรายงานของ NASA พืชบางชนิดยังรับหน้าที่ในการฟอกสารเคมีที่เป็นพิษ เช่นเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์และแอมโมเนีย อีกด้วย

และนี่คือ 12 ต้นไม้ที่คุณควรปลูกไว้ในบ้าน รับรองสุขภาพกายสุขภาพใจแข็งแรงอย่างแน่นอน

 

1. Golden Pothos (ไม้ตระกูลพลูด่าง)

แม้ว่าต้น Golden Pothos จะไม่สามารถกำจัดสารฟอร์มาลีนได้ แต่มันก็สามารถฟอกเอาเบนซินและไทรคลอโรเมทิลออกจากอากาศได้ โดยเบนซินที่กล่าวมานั้นมาจากกาว สีเคมี และผงซักฟอก

Golden Pothos เป็นพืชที่ตายยากจึงเหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำสวน มันทนในสภาวะที่มีแสงน้อยและไม่ต้องรดน้ำให้มันมากก็ได้

 

2. Peace lilies (ดอกหน้าวัว)

ต้นดอกหน้าวัวสามารถฟอกสารเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารเคมีอื่นๆ ที่ออกมาจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ภายในบ้านได้ และมันคือพืชในไม่กี่อย่างที่ดอกสามารถบานในที่ร่มได้

สถานที่ที่ดีต่อมันคือแสงแดดอ่อนๆ ที่ริมหน้าต่าง และรดน้ำให้มันเมื่อดินแห้ง ระวังอย่าให้น้ำมากเกินไปเพราะรากอาจจะเน่าได้

 

3. Garden mums (ดอกเบญจมาศ)

นอกจากที่ดอกไม้สีสันสดใสเหล่านี้จะช่วยทำให้บ้านของคุณดูมีสีสันขึ้นแล้ว มันยังช่วยกำจัดแอมโมเนีย, เบนซิน, ฟอร์มาลดีไฮด์และไซลีนออกจากอากาศได้ด้วย

พืชชนิดนี้ต้องการแสงมากหน่อย จึงควรตั้งไว้ใกล้ๆ หน้าต่างและควรรดน้ำเมื่อดินแห้ง (ควรใช้มือลองสัมผัสดินดู)

 

4. English ivy

ไม้เลื้อยชนิดนี้พบว่าสามารถกรองฟอร์มาลดีไฮด์และยังเป็นพืชอันดับหนึ่งที่ดีต่อการฟอกอากาศภายในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่สูบบุหรี่มันก็จะช่วยฟอกอากาศได้ดีทีเดียว

English ivy ชอบแสงอ่อนๆ และไม่ควรที่จะปล่อยให้ดินแห้ง เพราะมันชอบความชุ่มชื่นเอามากๆ เลยล่ะ

 

5. Ferns

เฟิร์นสามารถเพิ่มความชื่้นในอากาศได้ และมันจะช่วยให้ผิวของคุณไม่แห้ง

การปลูกเฟิร์นนั้นดินควรเปียกอยู่ตลอก แต่ไม่ชุ่มจนเกินไป การปลูกด้วยกาบมะพร้าวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้มันชุ่มชื้นตลอด และสามารถระบายน้ำส่วนเกินออกได้

 

6. Bromeliads (สับปะรดสี)

Bromeliads ทำให้อากาศบริสุทธิ์ มันสามารถซึมซับสารเบนซินและสามารถดูดซับสารเคมีได้ถึง 90%

สับปะรดสีนั้นชอบแสงแดดมากๆ และทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นก็ไม่ควรที่ให้น้ำมันมากเกินไป

 

7. Snake Plant (ต้นลิ้นมังกร)

ต้นลิ้นมังกรมันเหมาะอย่างยิ่งสำหรับห้องนอนของคุณ ไม่เพียงแต่มันจะกำจัดเบนซินและฟอร์มาลดีไฮด์เท่านั้น แต่ต้นลิ้นมังกรจะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนในเวลากลางคืน

ต้นลิ้นมังกรนั้นก็ดูแลง่าย โดยควรปล่อยให้ดินแห้งจึงค่อยรดน้ำ และวางในที่ที่มีแสงมาก

 

8. Philodendron

หากคุณต้องการพืชที่ทั้งสวยงามและยังช่วยฟอกอากาศทำให้บรรยากาศในห้องนั้นสดชื่น Philodendron น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะเลยทีเดียว เพราะมันสามารถดูดซับสารเคมี ทั้งทินเนอร์และเบนซินได้

โดยพืชชนิดนี้เติบโตได้ดีแม้ในที่ร่ม ดังนั้นควรให้แสงแดดและน้ำในปริมาณที่พอดี

 

9. Red-Edged Dracaena

พืชชนิดนี้มีสีสันที่สวยงาม และยังสามารถโตได้สูงถึง 15 ฟุต ไม่เพียงเท่านั้นมันยังช่วยขจัดสารพิษ เช่น ไซลีนไตรคลอโรเอทิลีนและฟอร์มาลดีไฮด์จากอากาศ พืชชนิดนี้เติบโตได้ดีในแสงแดดจ้าและควรรดน้ำเมื่อดินแห้ง

 

10. Spider plant

เจ้าพืชรูปร่างน่ารักต้นนี้ สามารถดูดซับฟอร์มาลดีไฮด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 90% ซึ่งเป็นสารพิษ 2 ชนิดที่พบในควันบุหรี่

พืชชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื่นอย่างเช่นห้องน้ำ และต้องการแสงแดดไม่มากนัก ดังนั้นควรรดน้ำสัปดาห์ละครั้งก็พอแล้ว

 

11. Bamboo plant

ต้นไผ่สามารถลดฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซิน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไซลีน และคลอโรฟอร์มจากอากาศได้ การดูแลที่ดี ควรวางมันในพื้นที่ที่แดดแรง เพราะหากวางในที่แดดจางๆ ก็อาจจะเจริญเติบโตช้า และควรรดน้ำอาทิตย์ละครั้งก็พอแล้ว

 

12. Aloe vera (ว่านหางจระเข้)

นอกจากที่ว่านหางจระเข้จะช่วยขจัดฟอร์มาลดีไฮด์ออกจากอากาศแล้ว เจลของว่านหางจระเข้ยังช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนจากแผลไฟไหม้ และช่วยสมานแผลอีกด้วย

ว่านหางจระเข้นั้นนั้นชอบแดดจัดๆ และควรรดน้ำ 1 ครั้ง ต่อ 3 สัปดาห์ก็พอแล้ว

 

รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ จะไม่หาต้นไม้ดีๆ ไว้ในห้องซักต้นเหรอ????

ที่มา thisisinsider

Comments

Leave a Reply