มาดูกันว่า “พายุ” แต่ละลูกที่เคยเกิดขึ้นบนโลก มันยิ่งใหญ่และรุนแรงขนาดไหน

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินข่าวพายุเฮอร์ริเคนฮาร์วีย์และเออร์ม่าที่ได้เข้าโจมตีหลายๆ ประเทศในช่วงที่ผ่านมากันไปแล้ว จนสร้างความเสียหายมูลค่านับไม่ถ้วน

แล้วเราเคยรู้กันบ้างหรือเปล่าว่าเจ้าพายุที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง มีขนาดและความรุนแรงขนาดไหน เมื่อเทียบกับที่เคยเกิดขึ้นมาบนโลกของเราทั้งหมด

แชนแนลยูทูปที่มีชื่อว่า Reigarw Comparisons ก็ได้ออกมาให้คำตอบ และเรียงลำดับให้เราดูกันไปเลย ว่าพายุที่ใหญ่ที่สุด มันจะซักแค่ไหนกันเชียว

 

 

ดูจากด้านบนเริ่มจากขนาดเล็กที่สุดคือพายุโซนร้อน Marco เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 37 กิโลเมตร นับว่าอยู่ในกลุ่มที่ 1 ทำได้เพียงแค่ ถอนรากต้นไม้เล็กๆ

ส่วนเฮอร์ริเคน Andrew ใหญ่สุดในรูปด้านบน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 300 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นมาเกือบ 10 เท่า และอยู่ในระดับ 5 เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด สามารถยกรถบรรทุก ทำลายอาคารขนาดเล็ก และทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ได้

ทว่าที่น่ากลัวที่สุดในภาพนั้นคงเป็นไซโคลน Bhola แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่า เส้นผ่านศูนย์กลาง แต่มันก็ได้คร่าชีวิตคนไปมากถึง 5 แสนคน ซึ่งสูงที่สุดที่เคยมีมาแล้ว

 

 

ตอนนี้เราก็จะได้เห็นขนาดของเฮอร์ริเคน Harvey กันแล้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 400 กิโลเมตร ถือว่ายังห่างกับคำว่าใหญ่ที่สุดอยู่มาก แต่ก็สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อยู่อาศัยในเท็กซัสไว้ไม่น้อยเลย

เฮอร์ริเคน Irma เองตอนนี้ก็กำลังสร้างความเสียหายให้กับรัฐฟลอริด้าอยู่ในปัจจุบัน เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 645 กิโลเมตร

อีกอันที่น่าสนใจในรูปด้านบนคือ เฮอร์ริเคน Katrina เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 620 กิโลเมตร จุดเด่นคือมันสร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินเยอะที่สุด เท่ากับ 1 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาทนั่นเอง

 

 

ในที่สุดก็ได้มาเจอเข้ากับลมพายุที่ใหญ่ที่สุดบนดาวโลกของเรากันแล้ว มีชื่อว่าไต้ฝุ่น Tip เกิดขึ้นเมื่อปี 1979 เส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 2,000 กิโลเมตร เรียกว่าถ้ามาไทยจะให้พังไปสัก 6 หรือ 7 จังหวัดหรือมากกว่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย

ที่รองลงไปก็คือเฮอร์ริเคน Sandy เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,800 กิโลเมตร และนับเป็นพายุใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

 

 

ใหญ่ที่สุดในโลกเราก็รู้ไปแล้ว คราวนี้ลองมารู้จักกับพายุเฮอร์ริเคนที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลกันดีกว่า มันก็คือพายุดาวเสาร์ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวถึง 1 หมื่นกิโลเมตร ความเร็วลมมากกว่า 2 พันกิโลเมตรต่อชั่วโมง

ถ้าคิดภาพกันไม่ออกก็ลองดูกันตามภาพเลยนะ เห็นเลยว่าถ้ามาโลกเนี่ย เราก็คงต้องเตรียมใจบอกลาบ๊ายบายกันไปเลยจ้าาา

คลิปวิดีโอเปรียบเทียบพายุ ทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นบนโลก

 

และนี่ก็คือเหล่าพายุ เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น หรือไซโคลนที่เกิดขึ้นมาบนโลกของเรา เรียงจากเล็กไปใหญ่ ดูแล้วก็รู้สึกได้ว่าเราก็แอบโชคดีเล็กๆ นะที่ไทยเรามีโอกาสเจออะไรแบบนี้ไม่มากนัก

 

ที่มา: Reigarw Comparisons

Comments

Leave a Reply