ชมการสร้างสะพานรถไฟจากไม้ในช่วงศตวรรษที่ 19 ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่

ในยุคนี้เราก็คงจะได้เห็นสะพานต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาจากเหล็กหรือคอนกรีตกันหมดแล้ว ทว่าสมัยก่อนในยุคที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าขนาดนี้ สิ่งเหล่านั้นกลับถูกสร้างขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติที่พบเห็นได้ง่าย อย่างต้นไม้ทั้งหลายเท่านั้นเอง

เจ้าสะพานไม้นี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1830s โดยเฉพาะการสร้างสะพานรถไฟ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากใครบางคนที่นำขอนไม้มาวางเรียงกันสำหรับไว้ข้ามลำธาร ทว่าในสะพานไม้เหล่านี้กลับไม่ได้รับความนิยมในยุโรปสักเท่าไหร่

ตรงกันข้ามกับทางฝั่งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่เป็นผู้นำสำคัญในการเริ่มต้นสร้างสะพานไม้อย่างแพร่หลาย ใช้วัสดุจากพื้นที่ป่ารอบๆ เกิดเป็นดีไซน์ที่แตกต่างกัน 2 แบบ เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่และการใช้งานที่ต่างกัน

 

ชาวบ้านสร้างสะพานด้วยตัวเอง และมีคนขึ้นไปวัดโครงสร้างอยู่ด้านบน

 

สะพานในวอชิงตันสูงกว่า 61 เมตร เป็นหนึ่งในสะพานที่สูงที่สุด

 

โดยส่วนใหญ่ที่ใช้จะเรียกว่า Pile Trestle เป็นการนำไม้มาวางเรียงกัน ให้เป็นเหมือนขาหยั่งเอียงเข้าหากัน ในระยะห่าง 3 ถึง 5 เมตร

ในแต่ละขาหยั่งที่ยื่นขึ้นไปจะประกอบด้วยเสาไม้ 3 ถึง 5 ต้น ถูกปักลงไปกับพื้นด้วยเครื่องตอก เสาที่อยู่นอกสุดจะมีองศาที่ค่อนข้างกว้าง เพื่อความมั่นคงที่มากขึ้น

ส่วนบนสุดก็จะถูกตัดให้พอดีในระหว่างการก่อสร้าง และขาหยั่งที่ต้องใช้สำหรับสะพานที่อยู่สูง ก็จะใช้ไม้ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม แตกต่างจากไม้ที่ใช้เป็นเสาให้กับสะพานที่ไม่สูงมาก แต่ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นสะพานที่สูงมากๆ จะสร้างฐานแบ่งเป็นชั้นต่อกันขึ้นไปทีละชั้นซ้ำไปมา

 

.

 

สะพานไม้ส่วนใหญ่จะเป็นสะพานทางตรง ไม่ค่อยมีทางโค้งเท่าไหร่ ทั้งนี้เพราะต้องใช้ขาหยั่งมาเรียงกันเป็นจำนวนมาก และเพื่อการเลี้ยวของรถไฟให้เป็นไปได้อย่างนุ่มนวล

ซึ่งโครงสร้างสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดคือเส้นทาง Mile 87.9 ที่ทอดออกไปข้ามผ่าน West Canyon Creek นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าทึ่งอย่างมาก ด้วยความยาวกว่า 220 เมตรและสูงถึง 55 เมตร ตลอดรางรถไฟแทบจะตั้งฉากกับแนวบนสุดของหุบเขาเลย

ส่วนสะพานที่สูงที่สุดนั้นอยู่ในรัฐวอชิงตัน ประเทศอเมริกา และในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา

 

สะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุด

.

 

สุดท้ายแล้วสะพานไม้มากมายทั้งหลายก็ต้องหายไป เพราะบริษัทผู้ค้าไม้ทั้งหลายมองว่า สิ่งก่อสร้างดังกล่าวทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรในพื้นที่ป่าเป็นอย่างมาก และถึงแม้ว่าจะใช้งบประมาณที่ถูกกว่าการใช้เหล็ก ทว่าข้อเสียมันก็มีอยู่เยอะ

การเดินทางที่ต้องใช้สะพานเหล่านี้ซ้ำๆ ทำให้มันเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ แถมยังเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้อีกต่างหาก ภาพของนักวิศวกรโดดลงจากรถไฟไปซ่อมแซม ก็สามารถเห็นกันได้จนชินตา ดังนั้นจึงมีการตัดสินใจรื้อถอนนำไม้ที่ใช้ออกไปจนหมด

 

 

สะพานในมอนตานา สูงกว่า 65 เมตร เป็นหนึ่งในสะพานที่สูงที่สุดเช่นเดียวกัน

.

.

 

.

.

.

 

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ทำให้ปัจจุบันเราจึงไม่สามารถพบเห็นสะพานเหล่านี้ได้อีกแล้ว เมื่อเวลาเปลี่ยน สิ่งต่างๆ ก็ต้องพัฒนาขึ้นเป็นธรรมดา แต่ถ้าหากว่าคุณอยู่ในยุคนั้น จะกล้านั่งรถไฟบนสะพานที่สร้างจากไม้กันมั้ยละ

 

ที่มา: thevintagenews

Comments

Leave a Reply