“บ้านแม่มดแห่งซาเล็ม” สิ่งก่อสร้างเดียวที่หลงเหลืออยู่ จากเหตุการณ์ล่าแม่มดในปี 1692

หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับคดีล่าแม่มดแห่งเมืองซาเล็ม ที่เคยเกิดขึ้นในอเมริกาในปี 1692 ซึ่งโด่งดังมากในยุคสมัยนั้น

และในครั้งนี้ #เหมียวขี้อ้อน จะขอพาเพื่อนๆ มารับชม “บ้านแม่มดแห่งซาเล็ม” สิ่งก่อสร้างเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่จากเหตุการณ์ล่าแม่มดนั่นเอง

 

 

สำหรับบ้านหลังนี้ ถือเป็นบ้านที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซาเล็ม รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นเจ้าของคือ ผู้พิพากษาจอมแขวนคอนามว่า Jonathan Corwin

โดยบ้านหลังดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นในระหว่างปี 1620 และ 1642 จนกระทั่ง Jonathan ในวัย 35 มาซื้อในปี 1672 ซึ่งเขาก็ได้เป็นผู้ครอบครองบ้านหลังนี้มานานถึง 4 ทศวรรษเลยทีเดียว

 

 

โดยในช่วงเวลานั้น Jonathan Corwin ได้ทำการพิพากษาคดีล่าแม่มดภายในบ้านหลังนี้ และระหว่างการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด เด็กหญิงหลายคนเกิดอาการเป็นลมหน้ามืดขึ้นมาอย่างรุนแรง ทำให้คนที่เฝ้าดูอยู่ ต่างพากันเชื่อว่านี่คือการกระทำของแม่มด

และยิ่งเวลาผ่านไป การกล่าวหาและตามล่าแม่มดก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น หลากหลายชีวิตต้องถูกสังเวยจากการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรม จนกระทั่งในที่สุดแล้วศาลพิเศษนี้ก็ถูกล้มเลิกไป เนื่องจากการพิจารณาคดีนั้นมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอ

 

 

บ้านแม่มดแห่งซาเล็ม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของสถาปัตยกรรมสไตล์นิวอิงแลนด์ ภายในจะประกอบไปด้วยห้อง 2 ห้องที่มีขนาดใหญ่ มีผนังสีขาว มีหน้าต่างบานเล็ก และปูพื้นด้วยไม้สน

นอกจากนี้ ชั้นบนของบ้านยังมีห้องนั่งเล่น และห้องครัวที่ประกอบไปด้วยเตาผิงขนาดใหญ่ มีโต๊ะพร้อมเก้าอี้ 2 โต๊ะด้วยกัน อีกทั้งยังมีห้องนอนถึง 2 ห้อง ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ และขวามือ เรียกได้ว่าเป็นสไตล์การตกแต่งบ้านในสมัยศตวรรษที่ 17 อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม มีการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่าบ้านหลังนี้ ยังเคยเป็นสถานที่ที่ใช้ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับแม่มด รวมถึงการทดลองมนต์ดำในปี 1692 และในปัจจุบันนี้สถานที่ดังกล่าวก็ได้เปิดให้ผู้คนได้เข้ามาเยี่ยมเยือนแล้ว

 

ประตูหน้าบ้าน

 

เตาผิงขนาดใหญ่ในห้องครัว

 

โต๊ะอาหารค่ำจากศตวรรษที่ 17

 

ผนังห้องที่ปูด้วยสีขาว

 

ห้องนอน

 

มันเป็นสิ่งก่อสร้างเดียวที่เหลือจากเหตุการณ์การล่าแม่มดแห่งซาเล็ม

 

ขนาดเห็นรูปเฉยๆ ว่ายังขนลุกแล้ว ถ้าได้ไปสัมผัสจริงๆ จะขนาดไหน…

 

ที่มา : wallswithstories

Comments

Leave a Reply