นิตยสารแนวไซ-ไฟ ที่สร้างขึ้นโดยทีมงานผู้พิการ เผยจินตนาการในมุมมองที่แตกต่าง…

หลายคนมักคิดว่าคนพิการคือคนที่ไร้ความสามารถ แต่จริงๆ แล้วถ้าเราเปิดโอกาสให้พวกเขาแสดงความสามารถในพื้นที่ที่เหมาะสม จะเห็นว่าคนพิการไม่ได้ด้อยความสามารถอย่างที่คิดเลย และนี่คือนิตยสารแนวไซ-ไฟ ที่ทีมงานเป็นผู้พิการทั้งหมด

 

 

“ฉันเป็นคนหูหนวก และฉันก็ไม่เคยเห็นใครเหมือนฉันในนิยายต่างๆ ไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตาม” นักเขียนและนักกิจกรรม Elsa Sjunneson-Henry ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ HuffingtonPost

Sjunneson-Henry เป็นบรรณาธิการของนิตยสาร Disabled People Destroy Science Fiction ซึ่งเป็นนิตยสารแนวไซไฟ ที่แทบจะไม่เหมือนกับนิตรสารในแนวเดียวกัน

 

 

สำหรับนิตยสาร Disabled People Destroy Science Fiction นั้น ทางผู้จัดทำคาดหวังที่จะให้ผู้พิการเป็นศูนย์กลางในการเล่าเรื่อง และนี่คือสิ่งที่ Sjunneson-Henry กำลังทำอยู่

เธอบอกว่า “ฉันต้องการสร้างพื้นที่ให้คนพิการได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ที่มักจะถูกมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง ความสามารถ รวมทั้งให้พวกเขาเห็นคุณค่าของตัวเองด้วย”

 

 

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซีรีย์นิตยสาร Destroy ได้พัฒนาและต่อยอดแนวคิดเกี่ยวกับไซไฟที่เคยได้รับการพูดถึงในอดีต และเผยแพร่ให้ผู้คนได้รับรู้

นิตยสาร 3 ฉบับแรกของ Destroy ได้รับเผยแพร่โดย Lightspeed Magazine ซึ่งประกอบไปด้วย “Women Destroy Science Fiction” “Queers Destroy Science Fiction” และ “People of Colo(u)r Destroy Science Fiction”

 

 

แต่ละเล่มเป็นการนำเนื้อหาที่ล้าสมัยแล้วมาทำสร้างเป็นเรื่องราวใหม่ที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนหวังว่ามันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจวิสัยทัศน์ที่สดใสในอนาคต

สำหรับฉบับที่ 4 ของ Destroy กำลังอยู่ในระหว่างการระดมทุนในเว็บไซต์ Kickstarter ซึ่งทีมงานจากนิตยสาร Lightspeed Magazine ได้เลือก Lynne M ให้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสารเล่มนี้ด้วย

ทั้งนี้ Thomas และ Michael Damian Thomas จาก Uncanny Magazine ซึ่งเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ได้อาสามาเป็นบรรณาธิการให้ เพราะพวกเขาคุ้นเคยกับผู้พิการเป็นอย่างดี

 

 

อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถทำงานเพียงลำพังได้ เนื่องจากต้องอาศัยความคิดเห็นจากผู้พิการในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างทีมขึ้นมา โดยเลือกคนที่มีความประสบการณ์กับคนพิการ เพื่อให้การช่วยเหลือและคอยรับมือผู้พิการที่มีความแตกต่างกัน

Sjunneson-Henry อธิบายว่า การทำงานเป็นทีมจะทำให้นิตยสารมีคุณภาพ ทั้งยังทำให้เนื้อหามีความสร้างสรรค์ และทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การทำงานที่มีทีมงานเป็นผู้พิการเป็นส่วนใหญ่ จะมีโอกาสผิดพลาดได้มาก ดังนั้นพวกเขาจึงต้องตรวจสอบทุกขั้นตอนอย่างละเอียดหลายๆ รอบ

 

 

นอกจากนี้ พวกเขาไม่ได้ตั้งทีมขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างเดียว แต่ยังช่วยเหลือกันในกรณีที่ใครคนใดคนหนึ่งต้องการความช่วยเหลือระหว่างการทำงานด้วย

สำหรับทีมนักเขียนและบรรณาธิการเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องแตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพื่อนำเสนอมุมมองที่แตกต่างและแลกเปลี่ยนความคิดจากชีวิตจริงของแต่ละคน

ความจริงบางอย่างอาจเป็นสิ่งน่าเกลียด ไม่สวยงาม แต่ทั้งหมดนั้นคือความรู้สึกอันแท้จริงที่ออกมาจากใจผู้พิการ ที่พวกเขาต้องการเผยให้คนอื่นได้รับรู้

ขณะนี้ยอดบริจาคสำหรับการตีพิมพ์ใกล้จะถึงเป้าที่ตั้งไว้แล้ว และหากเล่มนี้ถูกเผยแพร่ออกไป พวกเขาจะทำการเขียนเล่มต่อไปทันที เพราะยังมีเรื่องราวที่สร้างสรรค์เหนือจินตนาการอีกมากมายที่คนพิการอยากจะถ่ายทอดออกมา

ที่มา huffingtonpost

Comments

Leave a Reply