รู้จักกับแมงมุม Darwin’s Bark จากมาดากัสการ์ สามารถพ่นใยข้ามแม่น้ำไกลถึง 25 เมตร!!

‘แมงมุม’ เป็นสัตว์นักล่าที่ไม่ว่าใครต่างก็หวาดผวา เพราะนอกจากพิษอันร้ายแรงของมันแล้ว ยังมีขาอีกแปดขาที่เห็นแล้วชวนขนลุกแบบสุดๆ

เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่ามีแมงมุมชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างใยขนาดใหญ่ ข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างกว่า 25 เมตรได้ด้วยนะเออ!!

ขอแนะนำให้เพื่อนๆ ทุกคนรู้จักกับแมงมุม Darwin’s Bark ที่ได้ฉายาว่า ‘นักปล่อยใย’ โดยมันสามารถปล่อยใยพาดยาวข้ามแม่น้ำมีความกว้างถึง 25 เมตรได้แบบสบายๆ และขนาดของตาข่ายดักจับแมลงของเจ้าแมงมุมชนิดนี้ก็มีขนาดใหญ่ถึง 2.8 ตารางเมตรเลยทีเดียว!!

 

 

เจ้าแมงมุม Darwin’s Bark นี้ถูกพบเป็นครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติ Andasibe-Mantadia National Park บนเกาะ Madagascar เมื่อปี 2009

 

ก่อนที่แมงมุมจะพ่นใยสร้างตาข่ายดักจับแมลง มันจะสังเกตทิศทางลมก่อน

 

ความพิเศษของเจ้าแมงมุมชนิดนี้ก็คือใยของมัน ที่มีความเหนียวแน่นมากที่สุดมากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ เคฟล่าร์ (Kevlar) ในปริมาณเท่ากันถึง 10 เท่า!!

 

พอแน่ใจแล้วก็ค่อยพ่นใยออกไปในปริมาณมาก จนไปเกาะติดกับต้นไม้อีกฝั่ง

 

และชื่อ Darwin ของเจ้าแมงมุมนี้ก็เป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกียรติกับผู้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับการวิวัฒนาการเพื่อเอาตัวรอดในธรรมชาติ Charles Darwin นั่นเอง

 

 

จากนั้นมันก็จะทำการสร้างตาข่ายขึ้นมาตรงกลาง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย!!

 

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมคลิปวิดีโอการสร้างใยของเจ้าแมงมุม Darwin’s Bark กันแบบเต็มๆ ที่ข้างล่างนี้ได้เลยจ้า…

 

ที่มา : twistedsifter

Comments

Leave a Reply