หลักวิทยาศาสตร์ ว่าทำไมเราถึง “เกลียดเสียงตัวเอง” เมื่อฟังจากการบันทึกเสียงต่างๆ

เพื่อนๆ เคยสังเกตไหมว่าทำไมเวลาที่เราพูดคุยกันนั้น เราจะได้ยินเสียงตัวเองชัดแจ๋ว แต่พอเราบันทึกเสียงของเราที่เปล่งออกมาแล้วนำมันมาฟัง เรากลับได้ยินเสียงอีกอย่างหนึ่งเหมือนไม่ใช่เสียงของเราเอง

จากการอ้างอิงของนิตยสาร TIME ได้ให้เหตุผลว่าเสียงที่เราได้ยินจากการพูดหรือจากบันทึกนั้นเป็นคลื่นเสียงที่กระดูกค้อน ทั่ง โกลน ของเราทำการสั่นสะเทือนส่งต่อไปยังสมอง

 

ทำไมเสียงที่เราได้ยินจากเทปมันไม่เหมือนเราเลย!?

เมื่อคุณพูดเสียงนั้น จะถูกแบบเป็นสองประเภทนั้นคือคลื่นเสียงที่คุณทำตอนพูดและเสียงที่เกิดจากเส้นเสียง ซึ่งเสียงทั้งสองประเภทนี้จะถูกบิดเบือนเมื่อคุณได้ยินเสียงตัวเองจากเทปที่บันทึกไว้

 

เสียงที่เราได้ยินนั้นจะถูกบิดเบือนเล็กน้อยเมื่อบันทึกลงเทป

 

Martin Birchall ศาสตราจารย์วิชาโสตศอนาสิกที่ University College London กล่าวว่า

“เราคุ้นเคยกับเสียงที่เราเปล่งและได้ยินอยู่ในหัวของเรา ไม่ว่าเสียงของเราจะบิดเบี้ยวขนาดไหนก็ตาม เราสร้างภาพลักษณ์ของเราล้อมรอบเสียงที่เราได้ยินมากว่าความเป็นจริง

และสำหรับคนที่มีประเด็นเกี่ยวกับ การได้ยินเสียงตัวเองจากเทปที่บันทึกไว้อาจส่งผลกระทบทางจิตใจแก่พวกเขาได้” 

 

ศาตราจารย์ Martin Birchall

 

ดังนั้นคนที่เป็น Transgender ก็อาจจะตกใจกับเสียงที่ตนเองได้ยินเมื่อฟังผ่านเทปบันทึกได้เนื่องจากการเสียงที่ถูกบิดเบือนจากเทปที่บันทึกไว้

 

บุคคลที่เป็น Transgender อาจจะตกใจกับเสียงที่ตัวเองได้ยินก็ได้

 

ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องเสียงนะ #เหมียวปั๊ก กะจะลองบันทึกเสียงตัวเองมาฟังดูบ้างดีกว่า ดูซิว่าเสียงจะเป็นยังไง

ที่มา: unilad

Comments

Leave a Reply