ประวัติศาสตร์การล่า ‘กอริลลา’ สัตว์ผู้รักสงบที่ต้องใช้ชีวิตลำบาก เพราะการรุกรานจากมนุษย์

ในโลกเรานี้มีสัตว์มากมายหลายชนิด และก็มีสัตว์หลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ส่วนสาเหตุนั้นก็มาจากทั้งสาเหตุทางธรรมชาติและการถูกรุกรานจากมนุษย์

เช่นเดียวกับลิงกอริล่า กอริลลา มันเป็นสัตว์จำพวกเป็นเอป(ลิงไม่มีหาง) ที่อยู่ในเผ่า Gorillini และสกุล Gorilla ในวงศ์ Hominidae นับเป็นวานรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน

 

ลิงกอริล่าถูกจับใน Belgian Congo ราวปี 1960

1

 

แต่กว่าพวกมันจะอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ พวกมันต้องผ่านช่วงชีวิตที่แสนลำบากเพราะพวกมันมีร่างกายที่ใหญ่โต เมื่อตกใจหรือต้องการขู่ผู้รุกรานจะลุกขึ้นด้วยสองขาหลัง และทุบหน้าอกรัว ๆ ด้วยสองแขน พร้อมกับคำรามก้อง

จึงทำให้ภาพลักษณ์ของมันในสมัยก่อนดูเหมือนสัตว์ที่มีความดุร้ายยิ่งขึ้น ทั้งที่จริงแล้ว กอริลลาเป็นสัตว์ที่รักสงบ และขี้อาย ไม่เคยใช้พละกำลังหากไม่ถูกรบกวนก่อน

 

กัปตันอังกฤษ A. Gatti และคนป่าสองคนได้จับกอริล่าหนัก 226 กิโลกรัม มัดห้อยไว้กับเสา หลังยิงได้ในป่า Tchibinda สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประมาณปี 1930

2

 

กอริลลา  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนกลางของทวีปแอฟริกา ทั้งที่เป็นที่ราบต่ำ และเป็นภูเขาสูงแถบเทือกเขาวีรูงกาที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลถึง 2,200–4,300 เมตร ในคองโก และรวันดา

ฝูงกอริลลาจะประกอบด้วยตัวผู้จ่าฝูงเพียงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูกเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ลูกเล็กจะเกาะอยู่กับแม่เหมือนลิงหรือเอปทั่วไป

กอริลลาเมื่อเดินจะใช้ทั้งแขนหน้าและขาหลัง นานครั้งจึงจะเดินด้วยสองขาหลัง เพราะแขนหรือขาหน้าทั้งสองข้างยาวและแข็งแรงกว่ามาก

 

กลุ่มชนพื้นเมืองในแอฟริกากำลังนั่งดูศพกอริล่าที่ถูกยิงตายในช่วงเดือนมกราคม ปี 1932

3

 

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการค้นพบว่ากอริลลาเองก็มีพฤติกรรมรักร่วมเพศด้วยเหมือนกับมนุษย์ โดยเป็นกอริลลาภูเขาตัวเมียในรวันดา

จากการศึกษากอริลลาตัวเมีย 22 ตัว พบว่ามี 12 ตัวที่แสดงออกพฤติกรรมของความเป็นรักร่วมเพศ โดยเฉพาะการถูอวัยวะเพศ และการเกี้ยวพาราสีกัน

สังเกตได้จากกอริลลาตัวเมียจะไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว หรือแสดงอาการหวงอาหารกับกอริลลาตัวเมียตัวอื่น มีแต่การแสดงออกถึงอารมณ์ดึงดูดทางเพศที่ส่งถึงกันเท่านั้น

 

ศพกอริล่าถูกฆ่าโดยชนพื้นเมืองในปี 1925

4

 

ในช่วงทศวรรษที่ 1960–1970 กอริล่าถูกล่าอย่างรุนแรง เพราะถูกคุกคามในเรื่องถิ่นอยู่อาศัยจากมนุษย์ อีกทั้งยังมีปัจจัยอย่างอื่น เช่น สงคราม โรคระบาด ตลอดจนถูกจับไปขายในตลาดมืด ทำให้มีปริมาณลดลงเหลือประมาณ 250 ตัวเท่านั้น จากเดิม 400–500 ตัว

ต่อมา ไดแอน ฟอสซีย์ นักวานรวิทยาหญิงชาวอเมริกัน ได้เริ่มต้นศึกษากอริลลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 เป็นระยะเวลานานถึง 18 ปี จนในที่สุดกอริลลาภูเขาตัวหนึ่งได้ยื่นนิ้วมาแตะมือของเธอระหว่างเคี้ยวอาหารอยู่

นับเป็นครั้งแรกที่กอริลลาซึ่งเป็นสัตว์ป่าได้ยินยอมที่สัมผัสกับตัวมนุษย์ และฟอสซีย์ก็ได้เป็นผู้ตั้งต้นในการตั้งโครงการอนุรักษ์กอริลลาขึ้นมา และดำเนินการมาถึงปัจจุบันนี้

 

กอริล่าถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลอนดอน 1968

5

 

กลุ่มนักอนุรักษ์และชาวบ้านกำลังเคลื่อนย้ายศพกอริล่าที่ถูกฆ่าในฆ่าตายในอุทยานแห่งชาติวิรุงกา คองโกตะวันออก 2007

6

 

เกิดเป็นกอริล่านี่ มันไม่ง่ายเลยนะ ถึงจะแข็งแรงแค่ไหนแต่ก็ต้องแพ้ให้กับอาวุธของมนุษย์อยู่ดี

emo-144

 

ที่มา designyoutrust l wikipedia

Comments

Leave a Reply