พัฒนาการ 9 เดือน ตั้งแต่อสุจิ จนกลายมาเป็นทารกในครรรภ์ จะช่วยให้รู้อะไรมากยิ่งขึ้น…

เราเคยสงสัยมั้ยว่า กว่าจะเกิดมาเป็นหนึ่งชีวิตได้นั้น ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไร แน่นอนว่า เราคงเคยเห็นมาบ้างแล้วมา ผ่านทางสื่อต่างๆ และจากผลงานของศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์มากย

โดยหนึ่งในผู้ที่จะทำให้เราได้เห็นภาพกระบวนการกำเนิดชีวิตได้ชัดเจนยิ่งกว่านั้นก็คือ Lennart Nilsson ช่างภาพผู้ใช้เวลากว่า 10 ปี ในการบันทึกขั้นตอนการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์กันเลยทีเดียว

Nilsson เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1965 เมื่อนิตยสาร LIFE ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายของเขาเกี่ยวกับตัวอ่อนของมนุษย์ถึง 16 หน้า ทำให้ภาพเหล่านั้น ถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำทันทีในนิตยสาร Stern Paris, Match, The Sunday Times และสิ่งพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย

 

1

 

Nilsson มีความหลงใหลในกล้องจุลทรรศน์และการถ่ายรูปมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว โดยเขามักจะถ่ายภาพร่างกายของมนุษย์ในระดับจุลภาค เขาพยายามถ่ายภาพทารกเช่นนี้ตั้งแต่ปี 1957 แล้ว แต่ตอนนั้น มันยังไม่ดีพอสำหรับการเผยแพร่เท่าไรนัก

Nilsson จึงพยายามทำภาพให้ออกมาดีที่สุดโดยใช้ Cystoscope ซึ่งเป็นกล้องส่องขนาดเล็กที่ใช้ในการตรวจสอบภายในของกระเพาะปัสสาวะ เขาแนบกล้องพร้อมกับแสงไฟเล็ก ๆ ลงไปในครรภ์แล้วบันทึกภาพของตัวอ่อน

ผลงานของเขา จึงทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของชีวิตว่า กว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น จะมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง

 

ตัวอสุจิกำลังเดินทางไปสู่รังไข่

2

 

รังไข่

3

 

ช่วงเวลาที่สำคัญที่อสุจิกำลังจะเข้าไปในไข่

4

 

มีอสุจิมากถึง 200 ล้านตัว แต่มีเพียงตัวเดียวที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปในไข่ได้

5

 

เมื่อซูมไปที่หัวของอสุจิ จะเห็นสารพันธุกรรมทั้งหมด

6

 

สัปดาห์ต่อมา ตัวอ่อนจะย้ายมาอยู่ในครรภ์ผ่านท่อนำไข่

8

 

หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะยึดติดกับผนังของมดลูก

9

 

ในวันที่ 18 ของการพัฒนา หัวใจทารกในครรภ์จะเริ่มเต้น

11

 

ตัวอ่อนที่พัฒนา 22 วัน โดยพื้นที่สีเทานั้น จะกลายเป็นสมองของเด็ก

10

 

28 วันหลังจากการปฏิสนธิ

12

ในสัปดาห์ที่ 5 ตัวอ่อนจะมีความยาว 9 มิลลิเมตร โดยจะเริ่มเห็นเป็นใบหน้าที่มีปาก จมูก และตา

13

 

40 วันของการพัฒนา เซลล์ภายนอกของทารกในครรภ์ ได้ยึดติดกับพื้นผิวผนังมดลูกในรูปแบบรก

14

 

สัปดาห์ที่ 8 ของการพัฒนา

15

 

ตัวอ่อน 10 สัปดาห์ เปลือกตาจะเริ่มเปิดครึ่งหนึ่ง และในไม่กี่วันตาจะค่อยๆ เปิดออกได้เต็มที่

16

 

และในสัปดาห์ที่ 10 นี้ ทารกเริ่มขยับแขน ขาไปมา เพื่อสำรวจสิ่งรอบๆ ตัว

168205-17-650-53c212670e-1474018182

 

16 สัปดาห์

17

 

เริ่มมองเห็นเส้นเลือดผ่านผิวหนัง

18

 

18 สัปดาห์ ทารกเริ่มรับรู้ถึงเสียงจากภายนอกได้

19

 

19 สัปดาห์

20

 

ใน 20 สัปดาห์ ตัวอ่อนมีความยาว 20 เซนติเมตร และมีเส้นผมขึ้นเล็กน้อย

20

 

24 สัปดาห์

21

.

22

 

36 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกครบกำหนดคลอด

24

 

A Child is Born เป็นหนังสือของ Nilsson ที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี 1965 และขายหมดในเวลาไม่กี่วัน และยังถูกตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง จนกลายเป็นชุดภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ปัจจุบันแม้เขาจะมีอายุ 91 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังสนใจในวิทยาศาสตร์และการถ่ายรูปไม่ต่างจากวัยหนุ่มเลย

 

เป็นชุดภาพที่ยอดเยี่ยมจริงๆ เพราะกว่าจะได้ภาพแบบนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถมยังต้องใช้เวลานานด้วย

emo-161

ที่มา brightside

Comments

Leave a Reply