ผู้เชี่ยวชาญแนะ 12 ข้อปฏิบัติที่ควรทำ เมื่อพบว่าคนใกล้ตัวคุณ อยากจะฆ่าตัวตาย…

ในโลกสังคมแห่งยุคสมัยที่เต็มไปด้วย การแข่งขัน การเอาชนะ และ การอยู่รอด อะไรๆก็ดูจะวุ่นวายไปหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำให้มีอัตราผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า พุ่งกระฉูดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

และด้วยความเครียด ความเหนื่อยล้า หรือการท้อแท้จากปัญหาต่างๆในชีวิต อาจจะทำให้ใครหลายๆคนรู้สึกหมดหวัง หมดกำลังใจ ไม่มีแรงที่จะก้าวเดินต่อไป และผลสุดท้ายหลายๆคนก็เลือกที่จะจบชีวิตลงด้วยตัวเอง

 

ถึงแม้ว่าเรื่องนี้อาจจะดูไกลตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนรัก หรือคนใกล้ตัวที่เราสนิทสนม เขากำลังคิดอะไรอยู่ แล้วถ้าวันหนึ่งเขาคิดอยากจะปลิดชีวิตตัวเองลงล่ะ? มันคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ

และนี่คือ 12 คำแนะนำที่เราควรจะปฏิบัติแก่คนใกล้ตัว เมื่อรู้ว่าพวกเขามีอาการป่วยทางจิต โดย Dr. Christine Moutier หัวหน้าทางการแพทย์ ประจำมูลนิธิการป้องกันเหตุฆ่าตัวตาย ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

321

 

1. จงเชื่อมั่นในลางสังหรณ์ของคุณ เมื่อรู้สึกถึงคนมีปัญหา

หลายๆ ครั้งที่มักจะมีสัญญาณเตือนออกมาจากปากของผู้ป่วยคนนั้น อย่างเช่น “ฉันรู้สึกว่ามันไม่มีเหตุผลที่จะใช้ชีวิตต่อไปอีก”  หรือบางทีพวกเขาอาจจะไม่อยากพบปะผู้คน หรือแม้แต่คนในครอบครัวเดียวกัน

ถ้าหากสัญชาติญาณในตัวคุณทำให้คุณรู้สึกว่าคนใกล้ตัวกำลังมีปัญหา เราไม่ควรจะเพิกเฉย แต่อย่างน้อยก็ควรที่จะเข้าไปพูดคุย รับฟังปัญหาต่างๆจากพวกเขาบ้าง

 

2. เป็นคนที่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

ลองจินตนาการตามดูว่า ถ้าหากคุณพ่อของเราป่วย คนทั้งบ้านต่างก็ช่วยกันปรึกษาหารือ หาวิธีรักษาคุณพ่อ แต่โชคร้ายที่หลายๆ คนอาจจะลืมไปว่า ในขณะที่พวกเขากำลังปรึกษาหารือกันเพื่อช่วยเหลือ กลับไม่มีใครเข้าไปถามไถ่ และพูดคุยกับคุณพ่อ เพราะฉะนั้นคุณควรจะเป็นคนๆนั้น คนที่เข้าไปยื่นมือช่วยเหลือ และอยู่ข้างๆพวกเขาเมื่อยามจำเป็น

 

1-4760737476ef05a4b5751c45d4b94dc0

 

3. อย่ามัวแต่กังวลว่าเราจะเป็นคนที่ช่วยเหลือได้ดีรึเปล่า

บางทีเราอาจจะคิดว่า เมื่อเจอคนหนึ่งรู้สึกหมดหวังกับชีวิต เราควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของเค้าและคนที่สนิทใกล้ตัวมากกว่า ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงคนใกล้ตัว อย่ากลัวว่าใครจะหาว่าไปยุ่งกับเรื่องชาวบ้าน เพราะบางครั้งแค่รอยยิ้มของคุณก็ทำให้เขารู้สึกดีขึ้นมากแล้ว

 

4. เปิดใจคุยกัน

เมื่อคุณพร้อมที่จะคุยกับคนที่กำลังรู้สึกแย่ ให้ลองหาเวลาคุยกันแบบส่วนตัว สองต่อสอง ไม่จำเป็นต้องเป็นการสนทนาที่ซีเรียสจริงจัง อาจจะแค่คุยเปิดใจกัน ให้ต่างฝ่ายได้รับความรู้สึกดีๆ เป็นกำลังใจให้กันและกัน

 

2-7397ee8a330eef80619cd9a93f03d593

 

5. เมื่อเริ่มบทสนทนาแล้ว ควรแสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าเราเป็นห่วงมากแค่ไหน

ด้วยวิธีการง่ายๆ ชวนพวกเขาคุย หาอะไรดื่มร่วมกัน และพยายามให้อีกฝ่ายได้ระบายถึงสิ่งที่คั่งค้างอยู่ในจิตใจของเขา อาจจะไม่ต้องคุยกันด้วยเรื่องเครียด หรือปัญหาที่จริงจัง แต่เมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายเริ่มระบาย และเล่าถึงสิ่งที่ตัวเองรู้สึกอยู่ข้างใน ก็อย่าลืมที่จะแสดงความเป็นห่วงเป็นใย ให้เขาได้รับรู้ด้วยละ

 

6. เป็นผู้ฟังที่ดี

การเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ได้หมายความว่าต้องนั่งฟังอย่างตั้งใจเท่านั้น เพราะเมื่อคนใกล้ตัวเรากำลังสาธยายถึงชีวิตอันแสนย่ำแย่ที่เขาได้เจอมา สิ่งที่เราควรทำก็คือการฟัง ทำความเข้าใจ และแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งที่เข้าต้องเจอมา และไม่ควรทำตัวเป็นโค้ชสั่งการ ว่าชีวิตเขาควรจะทำอย่างไรต่อไป เชื่อเถอะว่าหลายๆวิธีพวกเขาอาจจะลองมาหมดแล้ว

 

5-32e85a2bf7deadfecdf34ac9e36a1768

 

7. อาจลองถามตรงๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เค้าไม่อยากมีชีวิตอยู่

ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าหากเรารู้สึกว่า คนใกล้ตัวยังคงมีความรู้สึกที่อยากจะจบชีวิตตัวเองลงอยู่ เราควรที่จะถามตรงๆด้วยความสุภาพ และใจเย็น อย่างเช่น “ทุกครั้งที่เธอรู้สึกแบบนี้ เธอยังมีความรู้สึกที่ไม่อยากจะมีชีวิตตามมาด้วยบ้างมั้ย?”

 

8. พูดอย่างตรงไปตรงมา

บางทีเราก็กลัวว่าการพูดด้วยถ้อยคำที่ตรงไปตรงมา จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกโกรธ เสียน้ำใจ หรือกลัวว่าจะทำให้สถานการณ์มันเลวร้ายลงกว่าเดิม แต่อันที่จริงแล้วงานวิจัยกลัยได้ผลที่ตรงกันข้าม เพราะสำหรับคนที่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย พวกเขามักอยากจะระบาย และถกเถียงเรื่องต่างๆที่อยู่ในหัวของพวกเขาอย่างตรงไปตรงมา

 

9. หากความคิดอยากฆ่าตัวตายเริ่มรุนแรง เราควรช่วยพวกเขาให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

คนที่มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตายหลายๆคน มักจะคิดว่าตัวเองแย่เกินกว่าที่จะเยียวยาได้อีก สิ่งที่คนใกล้ตัวอย่างเราพอจะทำได้ ก็คือการพาเขาไปรักษาให้ถูกวิธีการ อาจจะด้วยคำพูดที่ง่ายๆเช่น “ฉันว่าฉันจะพาเธอเข้าไปพบหมอ เพื่อการรักษาที่ถูกวิธี คนปรึกษาจิตแพทย์ไม่ใช่คนบ้า ทุกคนก็ไปพูดคุยกับหมอได้ ” อะไรทำนองนี้

 

3-ef8510a190383938d22597527b58e852

 

10. ถ้าหากคนนั้นกำลังอยู่ในภาวะที่เสี่ยง ควรดูแลให้อยู่ในที่ปลอดภัย และโทรหาใครซักคน

บางทีความคิดคนเรามันก็ช่างน่ากลัวนัก เพราะเมื่อจิตใจตกต่ำถึงขีดสุด เขาอาจรู้สึกอยากลาจากโลกนี้ไปจริงๆ สิ่งที่เราควรทำคือการนำตัวมาอยู่ในที่ปลอดภัย และให้ห่างจากเครื่องมือที่เป็นอันตรายทุกชนิด และที่สำคัญควรโทรหาญาติ หรือบริการสายด่วนต่างๆ

 

11. หลังจากนั้นควรติดตามดูอาการอยู่เสมอ

ถึงแม้ว่าการปลิดชีพตนเองอาจไม่สำเร็จ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้าง เพราะถ้าหากสภาพจิตใจไม่ดีขึ้น แน่นอนว่าต้องมีครั้งที่สอง และสาม ตามมาแน่ๆ

 

12. ดูแลตัวเอง

หลังจากที่เราดูแลคนใกล้ตัว ที่ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ไบโพล่าร์ หรือโรคทางจิตเวชต่างๆ ที่ส่งผลต่อการฆ่าตัวตายได้แล้ว ก็ไม่ควรลืมที่จะกลับมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองด้วยเช่นกัน

 

1111

ในโลกที่เต็มไปด้วยเรื่องปวดหัว ชวนให้เครียด ยังไงก็อย่าลืมเอาใจใส่คนรอบข้างกันดูนะ เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับคนใกล้ตัวแน่ๆ

emo-89

ที่มา: Upworthy

Comments

Leave a Reply