งานวิจัยชี้ การติดเฟซบุ๊คนั้น มีอาการแบบติดยาเสพติดอ่อนๆ เพราะอาการควบคุมตัวเองไม่ได้!?

สำหรับโซเชียลมีเดียนั้นก็เรียกได้ว่ากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์ไปซะแล้ว ซึ่งบางครั้งเรามีอาการติดกันแบบงอมแงมเลยทีเดียว ลองคิดดูกันเล่นๆ สิว่าวันๆ หนึ่งเราต้องหยิบเอาโซเชียลมีเดียขึ้นมาเล่นไปเท่าไหร่ก็ไม่รู้!?

แถมง่านวิจัยใหม่ของทาง California State University ของศาสตราจารย์ Ofir Turel ได้สังเกตการทำงานของสมองของอาสาสมัครที่เข้าร่วมทดลองจำนวน 20 คน พบว่าการทำงานของสมองนั้นราวกับกำลังเสพสารเสพติดอยู่เลยทีเดียว

 

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับสมองนั้นคล้ายกับการใช้โคเคน

1

 

แต่อย่างหนึ่งที่มีความแตกต่างกันก็คือ เวลาติด Facebook นั้น สามารถเลิกได้ง่ายดายกว่า และก็ไม่มีอาการเมาหนักเหมือนโคเคนอีกด้วย

Ofir Turel นักจิตวิทยากล่าวว่า ‘ผู้ที่ติด Facebook มีความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมในการติดของเขา แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่ได้มีแรงจูงใจพอที่จะควบคุมมัน เพราะพวกเขาไม่คิดว่าผลจากการติดนั้นจะรุนแรงและมีผลต่อชีวิต’

การทดสอบอาสาสมัครคือการนำพวกเขามาดูภาพไปทีละภาพ ทั้งภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ค ภาพการจราจร และภาพอื่นๆ ซึ่งพวเขาจะสามารถแตะหรือไม่แตะจอภาพก็ได้ หลักๆ แล้วผลที่ได้ออกมาก็คือ พวกเขามักจะกดภาพที่มีสัญลักษณ์ของเฟซบุ๊คกันแบบหยุดไม่อยู่ และสามารถควบคุมพฤติกรรมในการกดภาพอื่นๆ เช่นป้ายจราจรได้

 

อาการติดเฟซบุ๊ค

2

 

 

‘เอาง่ายๆ เลยก็คือ Facebook มีผลต่อสมองของมนุษย์ในส่วนของสมอง เกี่ยวกับอารมณ์รุนแรงซึ่งควบคุมไม่ได้ เช่นโกรธใครก็ทำร้ายผู้นั้นเลย กรณีนี้เราจะเปรียบเทียบกับการขับรถที่ผู้ใช้ Facebook อาจจะตอบข้อความเร็วกว่าการสังเกตป้ายจราจรเสียอีก’ ศาสตราจารย์กล่าวเสริม

แต่ข่าวดีก็คือสมองในส่วนที่ควบคุมการยับยั้งนั้นยังสามารถควบคุมอาการตัวนี้ได้ และนี่คือข้อแตกต่างระหว่างการติดเฟซบุ๊คกับติดโคเคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาการนี้สามารถรักษาได้ หลักๆ แล้วการติดเฟซบุ๊คนั้นมีอาการเหมือนติดยาเสพติดแบบอ่อนๆ

ความหมายของนักวิทยาศาสตร์ก็คือ การติดเฟซบุ๊คทำให้เราสามารถยับยั้งชั่งใจที่จะเล่นมันได้ยาก เหมือนๆ กับอาการติดโคเคนอ่อนๆ ที่จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์รุนแรงของตัวเองได้ แต่ยังดีที่การใช้เฟซบุ๊คเฉยๆ สามารถควบคุมได้บ้างเท่านั้นเอง

 

อื้อหือออ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวเหมือนกันนะเนี่ย นี่คนเราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ขณะเล่นเฟซบุ๊คจริงๆ น่ะเหรอ?? ลองสังเกตอาการของตัวเองกันดูนะเพื่อนๆ อย่างไรก็ดีเล่นแต่พอประมาณละกันนะจ๊ะ อย่าถึงขั้นไม่หลับไม่นอนเล้ยยยยยย

ที่มา: Metro, Livescience

Comments

Leave a Reply