พบซากบ้านโบราณในอังกฤษ อาจเป็นของ “ราชินี 9 วัน” ผู้ปกครองอังกฤษในศตวรรษที่ 16

สำหรับนักโบราณคดีอย่าง Richard Thomas แล้ว โบราณสถานอย่าง “Bradgate Park” ตั้งอยู่ในมณฑลเลสเตอร์เชียร์ ประเทศอังกฤษ นับว่าเป็นหนึ่งในแหล่งขุมทรัพย์สำคัญ ของประวัติศาสตร์อังกฤษในยุคกลางเลยก็ว่าได้

 

 

ด้วยเหตุนี้เอง คุณ Thomas และทีมงานจึงตัดสินใจที่จะลงหลักปักฐานสำรวจแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อที่ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาหลายร้อยปีของ Bradgate House หนึ่งในสิ่งก่อสร้างโบราณในพื้นที่

และแล้วหลังจากการการขุดค้นในพื้นที่ถูกดำเนินการมาหลายปี ทีมนักโบราณคดีของคุณ Thomas ก็ได้ออกมาประกาศการค้นพบโครงสร้างส่วนฐานของสิ่งปลูกสร้างโบราณอีกแห่งหนึ่ง ภายในพื้นที่เดียวกัน

 

 

โดยสิ่งปลูกสร้างที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ คาดกันว่าเป็นบ้านในวัยเด็กของ “เลดีเจน เกรย์” เครือญาติของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ผู้มีชื่อเสียงในฐานะ “ราชินีเก้าวัน”

จากระยะเวลาการครองราชย์อันแสนสั้นระหว่างพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 กับ พระนางแมรีที่ 1 ในปี ค.ศ. 1553

ข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ นับว่ามีน้ำหนักค่อนข้างมากในหมู่นักโบราณคดี เพราะไม่เพียงแต่เลสเตอร์เชียร์ จะเป็นบ้านเกิดของเลดีเจน เกรย์ตามที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เท่านั้น

แต่ Bradgate Park เองก็มีชื่อเสียงในฐานะพื้นที่ของตระกูลเกรย์ ซึ่งมีสมาชิกตระกูลอาศัยอยู่มาอย่างยาวนานกว่า 200 ปี

 

 

อ้างอิงจากสภาพของสิ่งก่อสร้างที่นักโบราณคดีพบ พวกเขาก็คาดกันว่าบ้านของเลดีเจน เกรย์น่าจะถูกทำลายไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามพวกเขายังไม่แน่ใจว่าบ้านของเลดีเจน เกรย์นั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ และถูกทำลายไปในวันไหน…

 

 

ยังมีความเป็นไปได้สูงที่เลดีเจน เกรย์ ไม่ได้มีชีวิตอยู่จนได้เห็นสิ่งปลูกสร้างที่ตัวเองเคยพักอาศัยถูกทำลายไป เพราะหลังจากที่ครองราชย์ได้เก้าวัน เธอก็ต้องหลีกทางให้พระนางแมรีที่ 1 ขึ้นครองบัลลังก์แทน

ในขณะที่ตัวเธอโดนจับตัวไปขังไว้ในหอคอยแห่งลอนดอน และถูกประหารชีวิตในปี 1554 ด้วยวัยเพียง 16-17 ปีเท่านั้น

 

 

ทั้งนี้เอง Bradgate House ของตระกูลเกรย์นั้น ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยขุนนางชื่อทอมัส เกรย์ ในปี 1520 ส่วนตัวของเลดีเจน เกรย์นั้น คาดกันว่าเกิดที่บ้านหลังนี้ในช่วงปี 1536-1537 หรือราวๆ 16-17 ปีหลังจากมีการสร้างบ้านนั่นเอง

 

 

ที่มา livescience, atlasobscura และ archaeology

Comments

Leave a Reply