จากประเด็นกวาดล้าง ‘ตู้คีบตุ๊กตา’ … หรือแท้จริงแล้ว มันผิดกฎหมายกันแน่!?

#ตู้คีบตุ๊ก #ผิดกฎหมาย

เมื่อเร็วๆ นี้เราคงได้เห็นประเด็น “การกวาดล้างตู้คีบตุ๊กตา” ซึ่งก็สร้างความสับสนและสงสัยให้กับเพื่อนๆ หลายคน

เพราะว่าก็เห็นว่าตู้ครีบตุ๊กตาต่างๆ นั้นตั้งให้เล่นตามโซนของเล่นในห้างกันอย่างมากมายมาตั้งนานแล้ว

แต่ทำไมถึงเพิ่งมาถูกจับในช่วงนี้

 

 

ท้าวความก่อนว่าปกติแล้วตู้คีบตุ๊กตาทั้งหลายนี้ จัดจำหน่ายในประเภท “เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ” ซึ่งมีข้อกำหนดก็คือ

1. สินค้าทั้งหมดในเครื่องต้องมีราคาเท่ากัน

2. สินค้าทั้งหมดในเครื่องต้องมีขนาด รูปร่างหรือสีสันเหมือนกัน

3. เครื่องจะเริ่มทำงาน เมื่อลูกค้าได้ชำระค่าสินค้าครบตามที่ถูกกำหนดไว้

4. หลังจากเครื่องทำงาน ลูกค้าสามารถเลือกหยิบสินค้าได้โดยไม่จำกัดเวลา

5. เครื่องจำหน่ายสินค้าต้องไม่หยุดทำงานจนกว่าลูกค้าจะได้รับสินค้า

 

แน่นอนว่า “ตู้คีบตุ๊กตา” มีบางอย่างที่ผิดไปจากคำจำกัดความของ “เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ”

ซึ่งก็คือข้อ 4 ลูกค้ามีเวลาจำกัดในการเลือก และข้อ 5 เครื่องจะหยุดทำงาน แม้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือไม่ก็ตาม

 

แต่เรื่องก็ไม่เป็นประเด็นใหญ่ จนกระทั่งเร็วนี้ๆ มีผู้ปกครองบางส่วนร้องเรียนเจ้าหน้าที่ว่าตู้คีบตุ๊กตาดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายการพนันและมีส่วนมอมเมาเยาวชน

ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ในบัญชี ข. หมายเลข 28

 

ทั้งนี้ทางกระทรวงมหาดไทย ได้เคยมีหนังสือ มท.0307.2 / ว 3810 ลงวันที่ 31 ต.ค. 2549 เพื่อแจ้งให้ทุกจังหวัดได้ทราบแล้ว ว่าไม่มีนโยบายอนุญาตให้มีการเล่นพนันประเภทดังกล่าว

 

แต่… ก็มีข้อถกเถียงเรื่องกฎหมาย

ในทางกลับกันทางกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติก็มีความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วย

บางส่วนระบุว่ากฎหมายอย่าง พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้นบัญญัติมาเกือบจะ 100 ปีแล้ว ควรจะมีการแก้กฎหมายให้เข้ากับยุคสมัยหรือไม่

 

สรุป ถ้าว่ากันตามกฎหมายเป๊ะๆ ก็ถือว่าผิดจากตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และเข้าข่ายการพนันได้จริงๆ

แล้วเพื่อนๆ ล่ะ คิดเห็นอย่างไรกันกับเรื่องนี้ คิดว่า “ตู้คีบตุ๊กตา” ถือว่าเข้าข่ายการพนันหรือไม่?

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวโคบี้


Tags:

Comments

Leave a Reply