กรณีศึกษา ‘อิสราเอล’ ยุบสภา หลังจัดตั้ง ‘รัฐบาลผสม’ ไม่สำเร็จ

อย่างที่รู้กันดีว่า ณ ตอนนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในบ้านของเรานั้นกำลังดุเดือดเข้มข้นเรื่อยๆ

ฝ่ายพรรคที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลพยายามทำข้อตกลงกับพรรคต่างๆ รวมแล้วกว่า 20 พรรค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้ได้

แต่แล้วก็เกิดปัญหาขึ้น เมื่อพรรคอันดับที่ 4 ที่มีเสียงในสภามากกว่า 50 เสียง กลับยึกยักเล่นตัวยังไม่ยิมร่วมรัฐบาล ส่งผลให้พรรคอันดับที่ 5 ที่มีเสียงกว่า 50 เสียงเช่นกันออกมาประกาศดึงเกม ว่าหากที่ 4 ไม่เข้าร่วม พรรคตัวเองก็จะไม่เข้าร่วมเช่นกัน

และหากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อนๆ สงสัยมั้ยครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น? ในวันนี้ #เหมียวหง่าว ก็มีกรณีศึกษาจากประเทศอิหร่านมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันดูครับ

 

ทำไมการเจรจาร่วมรัฐบาลของนาย Benjamin Netanyahu ถึงล้มเหลว?

 

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 สำนักข่าว BBC รายงานว่าสภานิติบัญัติของอิสราเอลลงมติให้ ‘ยุบสภา’ ด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 45

เพราะนายกรัฐมนตรี Benjamin Netanyahu ไม่สามารถรวมเสียงในสภาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้ตามเวลาที่กำหนดเอาไว้

 

 

พรรค Likud ของนาย Benjamin ชนะการเลือกตั้งในเดือนเมษยนที่ผ่านมา มีที่นั่งในสภา 35 ที่นั่ง จาก 120 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดและเดินหน้าเจรจากับพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อร่วมจัดตั้งรุฐบาล

โดยเป้าหมายก็คือทำข้อตกลงกับพรรคการเมืองเคร่งศาสนา ultra-Orthodox Jewish ที่มีจุดยืนต่างกันกับกรณีของการเสนอร่างกฎหมาย ‘ข้อยกเว้นที่ทำให้วัยรุ่นชาวยิวออร์โธดอกซ์อย่างสุดโต่ง ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร’

 

พรรค Yisrael Beitenu

 

ฝ่ายพรรคชาตินิยม Yisrael Beitenu ที่สนับสนุนนาย Benjamin อยู่แล้วต้องการที่จะผลักดันให้ร่างกฎหมายดังกล่าว ให้กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวมีส่วนในการรับใช้ชาติ ซึ่งชาวอิสราเอลจำนวนมากเห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่ว่าพรรคเคร่งศาสนาต้องการที่จะให้ยกเว้นเหมือนเดิม

หลังจากการเจรจากันมายาวนานกว่า 6 สัปดาห์ ก็ไม่ได้ข้อสรุปเสียที แม้ว่าจะเสนอตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่งไปให้อีกฝ่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงถูกปฏิเสธ

 

ยุบสภา

 

จนวันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ถึงเส้นตายกำหนดเวลาคือเที่ยงคืนของวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2562 ตามเวลาท้องถิ่น ประธานสภานิติบัญญติจึงนัดประชุมสภา เพื่อเสนอญัติให้ ‘ยุบสภา’

ที่ต้องเป็นแบบนั้น เพราะการจัดตั้งรัฐบาลจะต้องสามารถ ‘ควบคุม’ เสียงโหวตในสภาพให้ได้เกินครึ่ง ก็คือ 61 จาก 120 แต่ทว่าเสียงที่จะสนับสนุนให้กับนาย Benjamin นั้นมีไม่ถึง จึงต้องเดินหน้าหาพรรคการเมืองร่วมเพื่อจัดตั้งรัฐบาล สุดท้ายแล้วต้องเจอกับความล้มเหลว

อย่างที่เห็นจาก ‘ผลโหวต’ ให้ยุบสภา ที่ออกมา 74 ต่อ 45 ที่ทำให้ต้องยุบสภาไปในที่สุด ซึ่งก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ครั้งต่อไปในวันที่ 17 กันยายน 2562 ที่จะถึงนี้

 

กลับมาดูที่การเมืองไทย

ภาพจาก กองโฆษก พรรคพลังประชารัฐ

 

เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ทางการเมืองบ้านเรา ที่ผ่านการเลือกตั้งมานานแล้วกว่า 2 เดือน ก็ยังไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลเสียที พอจะได้ก็กลายเป็นว่าอีกฝ่ายเล่นตัวซะงั้น

และเชื่อว่าหลังจากการประชุมสภาครั้งต่อไปในวาระ ‘เลือกนายกรัฐมนตรี’ เสร็จสิ้นเรียบร้อย ทุกอย่างน่าจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น การทำข้อตกลงต่างๆ จะเข้มข้นยิ่งขึ้น เพราะหากเจรจาไม่ลงตัวและปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ก็อาจนำไปสู่การ ‘ยุบสภา’ ได้นั่นเอง

แต่ทว่าอีกสูตรหนึ่ง คือพรรคอันดับ 4 หรืออันดับ 5 แค่พรรคใดพรรคหนึ่งไปร่วมกับพรรคว่าที่ฝ่ายค้าน ที่กำลังรอคอยอยู่อย่างเงียบๆ มีความเป็นไปได้น้อยมากๆ

 

การสรุปให้เห็นภาพสถานการณ์การต่อรองระหว่างพรรคการเมือง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคพลังประชารัฐ

 

ปัญหาก็ติดอยู่ที่ ‘การเลือกนายก’ ที่ดูๆ แล้วยังไงก็ต้องมีคนโหวตให้ ‘ลุง’ เกินครึ่งแน่ๆ เพราะมีตุนไว้อยู่แล้ว 250 เสียง ซึ่งหากได้นายกรัฐมนตรีมา แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส. ก็เท่ากับว่าจบปิ๊งเหมือนกัน

เท่ากับว่าหากพรรคฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ไม่สามารถโน้มน้าวให้พรรคอันดับที่ 4 และอันดับที่ 5 ให้เข้าร่วมได้ล่ะก็ มีโอกาสที่เกมจะโอเวอร์ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว และหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป จะเลือกตั้งใหม่ไหม? หรือจะมีรัฐบาลรักษาการณ์มั้ย? ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันนะครับ

 

นี่ก็เป็นเพียงการนำข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงและวิเคราะห์ออกมาเท่านั้น เผื่อว่าหากเพื่อนๆ คนไหนกำลังสนใจเรื่องการเมือง และอยากจะลองทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้อยู่ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ

 

ที่มา : BBC

Comments

Leave a Reply