8 ความจริงแปลกๆ เกี่ยวกับ “ภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ” ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน

เชื่อว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง “ภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ” (Post-Mortem Photography) กันมาบ้าง

โดยนี่เป็นการถ่ายภาพที่ได้รับความนิยมมากๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19 และเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพคนตายให้เหมือนยังมีชีวิต เพื่อเป็นเครื่องจดจำของคนที่จากไป

(อ่านเรื่องราวเต็มๆ ของภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพได้ที่ “ภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ” ภาพแปลกจากศตวรรษที่ 19 ที่ถ่ายคนตายเหมือนยังมีชีวิต)

 

 

การถ่ายภาพในรูปแบบนี้ อาจจะนำมาซึ่งความรู้สึกที่หลากหลาย บางคนอาจมองว่าการถ่ายภาพคนตายเป็นอะไรที่น่าขนลุก ในขณะที่อีกหลายๆ คนอาจจะมองว่าการถ่ายรูปกับคนที่จากไปมันช่างเป็นอะไรที่น่าเศร้าเหลือเกิน

แต่ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรกับภาพเหล่านี้ มันก็ไม่ใช่เรื่องแย่ที่จะเรียนรู้เรื่องราวของภาพถ่ายสุดแปลกนี้ให้มากขึ้นอีกสักนิด

ดังนั้นในวันนี้เราจะไปชม 8 ความจริงที่คุณอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเกี่ยวกับภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ ที่แน่แน่เหมือนกันว่าอาจจะทำให้คุณเข้าใจความคิดของคนสมัยก่อนที่ถ่ายภาพเหล่านี้มากขึ้นอีกสักนิดก็เป็นได้

 

เริ่มกันจากข้อที่ 1 : ในหลายๆ ครั้ง คนตายจะถูกถ่ายภาพขณะนอนในโลงศพ

เมื่อพูดถึงภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ ตามปกติเราจะนึกถึงภาพคนตายนั่งบนเก้าอี้ หรือยืนในบ้านเป็นหลัก แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็มีหลายครั้งอยู่เหมือนกันที่ คนตายจะถูกถ่ายภาพเหล่านี้ขณะนอนในโลงศพเลย

การถ่ายภาพในรูปแบบนี้ มักจะถูกทำขึ้นก่อนที่คนรู้จักจะมาเคารพศพ และมีความหมายแฝงต่างไปจากภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพอื่นๆ ตรงที่มันแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่าคนในภาพตายไปแล้ว

 

ข้อที่ 2 : บางครั้งผู้เป็นแม่จะซ่อนตัวอยู่หลังภาพเพื่ออุ้มลูกที่จากไปแล้ว

ภาพเหล่านี้มักจะถูกเรียกกันว่า “Hidden Mother” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ผู้เป็นแม่ไม่อยากเอาตนเองไปอยู่ในภาพกับลูกด้วย ซึ่งเหล่านักวิจัยยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าทำไมพวกเธอจึงทำอย่างนั้น

ที่น่าสนใจคือภาพ Hidden Mother นั้นไม่จำเป็นต้องถ่ายกับเด็กที่ตายไปแล้วเสมอไป เพราะบางครั้งเราก็สามารถเห็นภาพ Hidden Mother ที่ไม่ว่าดูยังไงเด็กที่ถูกอุ้มอยู่ก็ยังไม่ตายได้เช่นกัน

 

ข้อที่ 3 : บางครั้งดวงตาที่เราเห็น ก็เป็นเพียงภาพดวงตาที่วาดขึ้นมาเท่านั้น

นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงปลายยุควิกตอเรีย ซึ่งแทนที่จะเปิดตาคนตายมาเพื่อถ่ายรูป ทางครอบครัวจะให้ศิลปินมาวาดตาลงไปบนเปลือกตาของศพแทน หรือบางครั้งก็วาดบนแผ่นพิมพ์แทนคล้ายๆ กับการตัดต่อภาพในปัจจุบัน

 

ข้อที่ 4 : บางครั้งช่างภาพก็จะจัดท่ายืนให้ศพ โดยใช้สแตนช่วยค้ำ

การทำให้ศพยืนจะเป็นอะไรที่ทำให้ศพมีสภาพเหมือนกับยังมีชีวิตที่สุด ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการใช้ไม้ค้ำหรือสแตนช่วยให้ศพไม่ล้มและหว่างถ่ายภาพ

(และการจะซ่อนสแตนให้เนียนที่สุดก็เป็นสิ่งที่วัดความสามารถของช่างภาพได้เป็นอย่างดี)

 

ข้อที่ 5 : พ่อแม่มักจะถ่ายรูปคู่กับศพของลูก

นี่อาจจะเป็นอะไรที่ฟังดูเป็นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็สมควรที่จะกล่าวถึง เพราะในยุควิกตอเรียนั้นมีอัตราเด็กๆ เสียชีวิตค่อนข้างสูง

ดังนั้นภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพส่วนมากจึงมักเกี่ยวข้องกับเด็กๆ และในภาพเหล่านั้นก็จะมีพ่อแม่ติดอยู่ในภาพด้วย

 

ข้อที่ 6 : บางครั้งพี่น้องของผู้ตายก็จะถ่ายมารูปคู่กับศพด้วย

ข้อนี้อาจจะเป็นอะไรที่เหมือนกับข้อข้างบน แต่ต่างกันที่รูปถ่ายคู่กับพี่น้องจะพบได้ไม่มากเท่ากับรูปถ่ายคู่กับพ่อแม่ และเป็นไปได้ว่าทำขึ้นเพื่อไม่ให้คนที่มีชีวิตอยู่ลืมไปว่าตัวเองมีพี่น้องที่ตายไปแล้วในตอนที่โตขึ้น

 

ข้อที่ 7 : ภาพถ่ายเด็กอ่อน เป็นอะไรที่พบได้เยอะมาก

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้าในยุควิกตอเรีย มีอัตราเด็กๆ เสียชีวิตสูง ซึ่งเกิดมาจากโรคร้ายต่างๆ อย่างไข้ทรพิษ และวัณโรค อีกทั้งในสมัยก่อนยังไม่มีการฉีดวัคซีน ดังนั้นการที่เด็กๆ จะตายไปก่อนอายุได้สามขวบจึงเป็นอะไรที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ

และแน่นอนว่ารูปศพของเด็กอ่อนที่ประดับอยู่ตามบ้านเองก็จะมีปริมาณมากกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ ตามไปด้วย

 

และข้อ 8 : ในรูปบางรูปอาจมีคนตายได้มากกว่าหนึ่งคน

ตามปกติภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ ที่เราเคยเห็นมักจะเป็นภาพที่มีคนตายคนเดียวเป็นหลัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีภาพที่มีศพอยู่มากกว่าหนึ่งศพในภาพเลยเช่นกัน

โดยมากแล้วภาพแบบนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนในภาพเสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งหากมองว่าศพคนใช้เวลาไม่นานในการเน่าเสียแล้ว คงต้องบอกว่าไม่แปลกที่ภาพเหล่านี้จะเหลือมาให้เห็นในปัจจุบันน้อยกว่าภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพแบบอื่นๆ

 

ที่มา vintag และ ranker

Comments

Leave a Reply