ศิลปะจาก “ฝาท่อน้ำ” ของญี่ปุ่น จุดดึงดูุดให้นักท่องเที่ยว ตามเก็บภาพมันในแต่ละเมือง

“ประเทศญี่ปุ่น” น่าจะเป็นอีกหนึ่งประเทศในฝันของใครหลายๆ คนที่พอไปแล้วก็อยากไปอีกเรื่อยๆ เพราะประเทศนี้มักจะมีรายละเอียดของแต่ละเมืองเยอะมาก จนเราตามเก็บรอบเดียวไม่ไหว

หลายๆ เมืองของพวกเขาก็มีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละแบบ และสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องเดินตามเก็บ (ถ้าหลายๆ คนสังเกต) คืองานศิลปะบน “ฝาท่อน้ำ”

ข่าวก่อนหน้านี้: นี่คือ “ฝาปิดท่อระบายน้ำ” ในญี่ปุ่น เห็นได้เลยว่าประเทศนี้งานศิลปะมีอยู่ทุกที่!!

 

 

ช่วงปี 1950 คือจุดเริ่มต้นครั้งแรกของการพิมพ์ลายต่างๆ บนฝาท่อน้ำ โดยลายแรกๆ จะไม่เหมือนกับลวดลายแบบปัจจุบันที่เราเห็นกัน แต่จะเป็นลายง่ายๆ อย่างเช่นทรงเรขาคณิตหลากหลายทรง

และจังหวัดแรกๆ ที่เริ่มพิมพ์ลายลงบนฝาท่อ คือจังหวัดโตเกียวและนาโกย่า

จนกระทั่งในปี 1985 ลวดลายที่สลับซับซ้อนจึงได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้ดูทันสมัยมากขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์บนทางเท้าของญี่ปุ่นไปแล้ว

 

 

ส่วนใหญ่แล้วลายพิมพ์บนฝาท่อเหล่านี้ จะออกแบบตาม “ความเป็นเมืองนั้นๆ” และไม่มีฝาท่อใดที่พิมพ์ลายแบบสุ่มๆ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประทับใจในความแตกต่างของฝาท่อเหล่านี้

เมืองไหนที่ดังด้านอะไรก็มักจะนำเสนองานศิลปะบนฝาท่อออกมาแบบนั้น เช่น จังหวัดทตโตริบ้านเกิดของอาจารย์โกโช อาโอยาม่า ผู้แต่งเรื่อง “นักสืบโคนัน” ก็จะมีลายฝาท่อของเมืองเป็นรูปโคนันตามมุมต่างๆ ของเมือง

 

 

ทุกวันนี้ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีฝาท่อมากมายตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดโอซาก้าแค่จังหวัดเดียวก็มีฝาท่อพิมพ์ลายมากถึง 180,000 อันแล้ว

ราคาในการก่อฝาขึ้นมารวมถึงพิมพ์ลายต่างๆ อยู่ที่ 585 ดอลลาร์สหรัฐ (18,530 บาท) และทุกลายที่มีการลงสีจะไม่ใช้เครื่องจักรแต่จะใช้มือในการระบายลวดลายทั้งหมด

 

 

หลังเราทราบความเป็นมาของศิลปะบนฝาท่อนี้แล้ว ลองมาดูหน้าตาของพวกมันกันว่าจะเจ๋งขนาดไหน!!

 

.

.

.

.

.

.

 

ประเทศนี้ยังมีอะไรให้ค้นหาอีกมาก สมกับเป็นประเทศที่มีรายละเอียดให้นักท่องเที่ยวตามเก็บเยอะมากที่สุด เพราะแม้แต่ฝาท่อเองก็ยังมีรายละเอียดแตกต่างกันไปเลย!!

 

ที่มา: atlasobscura

Comments

Leave a Reply