งานวิจัยพบ การอยู่ในอวกาศทำให้ไวรัสโรคเริมกลับมาทำงานได้ เชื่อส่งผลต่อภารกิจระยะยาว

สำหรับเหล่าคนที่ทำงานบนอวกาศแล้ว การที่สภาพพื้นที่นอกโลกส่งผลกับร่างกายมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่พวกเขาทราบกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกที่เกิดจากสภาพไร้น้ำหนัก หรืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากไม่มีการเตรียมตัวให้ดีอวกาศก็จะทำให้คนเราป่วยได้อย่างง่ายๆ เลย

 

 

และแล้วเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา เหล่านักบินอวกาศก็ได้พบกับผลกระทบใหม่ของการใช้ชีวิตนอกโลกอีกครั้ง เมื่อพวกเขาพบว่าในร่างกายของนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติกว่าครึ่ง มีการร่องรอยการแบ่งตัวของไวรัสโรคเริม (Herpes simplex) อีกครั้งทั้งๆ ไวรัสมีสภาพหยุดนิ่งมาเป็นเวลานานแล้ว

เป็นเรื่องที่ทราบกันว่าไวรัสโรคเริมนั้น หากติดเชื้อไปแล้วมันจะคงอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต และกว่าครึ่งของชาวสหรัฐฯ จะเคยเป็นโรคนี้มาก่อนสักครั้งในชีวิต ดังนั้นการที่ไวรัสนี้ตัวนี้กลับมาทำงานอีกครั้งในสภาวะนอกโลกได้จึงทำให้ทางนักวิทยาศาสตร์เป็นกังวลอย่างมาก

 

 

เพราะแม้ว่าการที่ไวรัสกลับมาแบ่งตัวจะไม่ได้หมายความว่าโรคเริมกลับมาแสดงอาการอีกครั้งเสมอไปก็ตาม แต่ก็มีนักบินบางส่วนแล้วที่มีอาการของโรคเริมขึ้นมาให้เห็นจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่อาศัยในสถานีเป็นเวลานานแล้ว

นั่นหมายความว่ายิ่งมนุษย์อยู่ในอวกาศนานแค่ไหน คนเคยมีไวรัสก็จะมีโอกาสกลับไปเป็นโรคอีกครั้งมากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็อาจทำให้ไวรัสตัวนี้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำภารกิจระยะยาวอย่างการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร

แถมแม้ตัวนักบินจะไม่มีอาการเองพวกเขาก็ยังสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้อยู่ดี

 

โรคเริมแบบแสดงอาการที่ริมฝีปากล่าง

 

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามอย่างมากในการหาทางป้องกันเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ เช่นการทดลองใช้วัคซีน อย่างไรก็ตามในบรรดาวัคซีนป้องกันไวรัสจำพวกนี้นั้น เรามีก็ยังมีเพียงแต่ของโรคงูสวัด ซึ่งแม้จะมีอาการใกล้เคียงกับโรคเริม แต่ก็เป็นไวรัสคนละตัวกันอยู่ดี

 

ที่มา livesciencehealth และ sciencealert

Comments

Leave a Reply