อิตาลีออกกฎหมาย ‘เด็กไม่ฉีดวัคซีน ไม่ต้องเข้าเรียนและถูกปรับ’ เพื่อแก้ปัญหาโรคหัดระบาด

ปัจจุบันปัญหาเรื่อง ‘โรคหัดระบาด’ กำลังกลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งสาเหตุหลักนั้นมาจากการที่พ่อแม่ทั้งหลายได้รับความรู้แบบผิดๆ ที่บอกว่า ‘วัคซีน’ ไม่ดีต่อร่างกายเด็ก แต่ตอนนี้ผู้ต่อต้านที่เป็นพลเมืองชาวอิตาลี อาจจะไม่มีทางเลือกแล้วหากไม่อยากให้ลูกๆ ขาดการศึกษา

ล่าสุด อิตาลีได้ออกกฏหมายใหม่ออกมาระบุว่า ‘พ่อแม่คนไหนที่ส่งลูกเข้าเรียนโดยไม่ได้รับวัคซีนจะถูกปรับเงิน 500 ยูโร (ประมาณ 17,000 บาท) และเด็กจะถูกแบนไม่ให้เรียนหนังสือ’

กฏหมายดังกล่าวถูกนำมาใช้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคหัด ตอนนี้ทางการอิตาลีเผยว่ามีผู้มารับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เริ่มใช้กฏหมายดังกล่าว

 

 

แต่ขณะเดียวกัน อิตาลีเองก็มีข้อกฎหมายที่ระบุว่า ‘เด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 16 ปี ต้องได้รับการศึกษา’ ซึ่งมันดูค่อนข้างจะขัดกันเล็กน้อย ทางรัฐบาลก็เลยออกกฎเพิ่มเติมว่าหากเด็กในช่วงอายุนี้ไม่ได้รับวัคซีน พวกเขาจะไม่ถูกแบนจากการศึกษาแต่จะถูกปรับเพียงอย่างเดียว

ซึ่งการแบนไม่ให้เข้าเรียนจะใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ที่เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาลและเตรียมอนุบาลเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีเหตุผลด้านการแพทย์ที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ จะถูกยกเว้นและสามารถเข้าเรียนได้ตามปกติ

ส่วนวัคซีน 10 ตัวที่ทางการบังคับก็จะมี โปลิโอ, บาดทะยัก, คอตีบ, ไวรัสตับอักเสบบี, ไอกรน, หัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, อีสุกอีใส และ โรคฮิบ

 

Giulia Grillo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

เดิมที เส้นตายที่บังคับให้ส่งเอกสารให้กับรัฐว่าเด็กได้รับวัคซีนแล้วหมดลงในวันที่ 11 มี.ค. แต่ทางรัฐก็ได้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 18 มี.ค. เพื่อให้เวลาเพิ่มเติมกับเหล่าพ่อแม่

Giulia Grillo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเผยว่าหนังสือพิมพ์ La Repubblica ว่า “ตอนนี้ทุกคนจะได้มีเวลาจัดการให้เสร็จ”

เธอยังเสริมถึงกฏหมายใหม่ที่ถูกบังคับใช้นี้ว่าเป็นอะไรที่ง่ายๆ “ไม่ฉีดวัคซีน ก็ไม่ได้เรียน”

 

 

เหตุผลที่กฏหมายนี้ถูกนำมาใช้ เนื่องมาจากอัตราการได้รับวัคซีนของคนในประเทศลดลงไปอยู่ที่ 80% ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ยอดเพิ่มขึ้นมาเป็น 95% ตามเป้าขององค์กรณ์อนามัยโลก

หน่วยงานด้านสุขภาพของอิตาลีได้ออกมาเผยว่าอัตราของเด็กที่เกิดในปี 2015 (ปัจจุบันอายุ 3-5 ขวบ) มีอัตราการได้รับวัคซีนเพิ่มสูงขึ้นไปใกล้กับ 95% แล้ว นั่นหมายความว่ารัฐประสบความสำเร็จกับการบังคับใช้กฏหมายนี้

 

ที่มา: BBC, ladbible, metro, boredpanda, unilad


Tags:

Comments

Leave a Reply