พบรูหนอน อายุกว่า 500 ล้านปีที่แคนาดา เชื่ออาจเปลี่ยนความคิดเรื่องระบบนิเวศในพื้นที่

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมาแหล่งข่าวต่างประเทศได้มีการออกมารายงานข่าวการค้นพบรูหนอนโบราณอายุกว่า 500 ล้านปีในหินที่ประเทศแคนาดา ซึ่งคาดกันว่าเคยถูกหนอนในสมัยก่อนใช้งานคล้าย “ทางด่วน” ในปัจจุบัน

 

 

ทางด่วนหนอนที่ถูกพบในครั้งนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และถูกพบเป็นครั้งแรกโดยบังเอิญในระหว่างการทดสอบหินก้อนเดียวกัน ในการทดลองอีกชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2018

จากการวัดระยะอย่างละเอียดรูหนอนนี้มีความกว้างเพียง 0.5-15 มิลลิเมตร แต่กลับแข็งแรงพอที่จะไม่ผุพังจากน้ำทะเลได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเดินทางอย่างรวดเร็วและซ่อนตัวจากนักล่า อ้างอิงจากการที่ส่วนหนึ่งของรูมีร่องรอยคล้ายการโดยขุดจากด้านบน

 

 

นอกจากนี้ในระหว่างการศึกษาของปี 2018 นักวิทยาศาสตร์ยังพบซากหนอนโบราณตัวหนึ่งอยู่ในรูหนอนแห่งนี้ด้วย แม้ว่าหนอนตัวนี้ไม่น่าจะใช่หนอนที่ขุดรูก็ตาม (เนื่องจากซากหนอนที่ขุดรูถูกพบอยู่ในอุจาระสัตว์ใกล้ๆ)

นี่อาจจะเป็นการค้นพบที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา เพราะที่ผ่านๆ มาเราก็ทราบกันอยู่แล้วว่าสิ่งมีชีวิตตระกูลหนอนและไส้เดือนนั้นมีอยู่บนโลกมาตั้งแต่หลายล้านปีก่อน แต่สิ่งที่ทำให้การค้นพบในครั้งนี้น่าสนใจอยู่ที่สถานที่ที่มีการค้นพบทางด่วนที่ว่านี้ต่างหาก

 

 

นั่นเพราะทางด่วนหนอนที่มีการค้นพบในครั้งนี้ ถูกพบอยู่ที่พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา ซึ่งเมื่อช่วง 500 ปีก่อนนั้นเราเชื่อกันว่าปกคลุมไปด้วยทะเลโบราณ ที่ไม่น่าจะมีออกซิเจนมากพอที่จะรักษาสภาพของสิ่งมีชีวิตได้ จนบางครั้งก็ถูกเรียกว่าเขตไร้ชีวิตไป

ดังนั้นการที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ที่นี่ได้จึงนับว่าเป็นการค้นพบที่ส่งผลกระทบกับแนวคิดเรื่องพื้นที่โลกในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เพราะการมีตัวตนอยู่ของหนอนเหล่านี้มันเป็นหลักฐานอย่างดีเลยว่าทะเลในสมัยก่อนนั้น มีออกซิเจน และสิ่งมีชีวิตมากกว่าที่เราคิดก็เป็นได้

 

ที่มา livesciencesciencedaily และ infosurhoy

Comments

Leave a Reply