ประชาชนอินเดียและปากี ร่วมรณรงค์ผ่าน #ProfileForPeace ไม่เอาสงคราม บนทวิตเตอร์

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 กลายเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก กรณีที่ปากีสถานได้ออกมาประกาศว่ายิงเครื่องบินแอร์ฟอร์ซของอินเดียตกถึงสองลำ และนักบินคนหนึ่งถูกจับกุมตัวไป ด้วยเหตุผลว่ายิงเพื่อเป็นการเตือนเพราะบินผ่านน่านฟ้าปากีสถาน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บรรดานักวิเคราะห์ และสื่อต่างๆ มุ่งไปที่ประเด็นแบ่งแยกเขตดินแดนในพื้นที่แคชเมียร์ฝั่งปากีสถาน และทั้งสองประเทศได้ประกาศทำสงครามกันถึงสามครั้งเนื่องจากกรณีดังกล่าว

 

อ่านข้อมูลแบบเต็มๆ ได้ที่ : สรุปประเด็น ความตึงเครียดระหว่าง อินเดีย-ปากีสถาน เกิดอะไรขึ้นบนพื้นที่ชายแดนแคชเมียร์!?

 

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลทั้งสองฝั่งจะทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างไร แต่ดูเหมือนว่าประชาชนของทั้งสองประเทศต่างร่วมมือกันทำแคมเปญแฮชแท็กว่า #ProfileForPeace บนทวิตเตอร์เพื่อจะสื่อว่าพวกเขาไม่ต้องการสงคราม แต่ต้องการความสงบสุขต่างหาก!!

 

 

คนที่เริ่มต้นทำแคมเปญนี้ครั้งแรกคือ Ram Subramanian นักผลิตภาพยนตร์โฆษณาชาวอินเดีย โดยเขาได้เริ่มแคมเปญ ProfileForPeace ตั้งแต่ปี 2016 แต่ปัจจุบันก็ได้กลับมาเป็นเทรนด์ที่นิยมบนทวิตเตอร์อีกครั้งเพราะเหตุการณ์ที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง

วัตถุประสงค์ของเขาคือ อยากให้คนเข้ามาร่วมแคมเปญในครั้งนี้ด้วยการเขียนสิ่งที่ตนอยากจะนำเสนอ ในเรื่องของการยุติความขัดแย้ง และความรุนแรงในประเทศทั้งสองพร้อมโพสต์ภาพตนเองและกระดาษที่เขียนลงบนทวิตเตอร์

 

ประกาศทางทวิตเตอร์จากหน่วยงานความมั่นคงของปากีสถานว่าได้ยิงเครื่องบินของประเทศอินเดียตกสองลำ พร้อมทั้งจับกุมนักบินหนึ่งคน

 

แคมเปญ ProfileForPeace กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งแล้ว

https://twitter.com/VORdotcom/status/1101149874857242624

 

Shafi Khan Masood เจ้าของบริษัทรถแท็กซี่ในดูไบก็ร่วมรณรงค์ในแคมเปญนี้ด้วย

 

ผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ไม่ได้โพสต์รูปภาพ แต่เขียนบรรยายแทนว่า “ผมเป็นคนอินเดีย ผมไม่เกลียดชาวปากีสถาน ผมไม่ต้องการสงคราม ไม่ใช่ผมเพียงคนเดียวเท่านั้นที่คิดแบบนี้ แต่มีคนอีกมากที่คิดแบบเดียวกับผม”

“ผมเข้าใจว่าทั้งสองผู้นำของทั้งสองประเทศต่างต้องรับผิดชอบกับเรื่องวุ่นวายเหล่านี้ด้วย”

 

มีแต่ประชาชนเท่านั้นแหละที่ต้องการความสงบสุข ส่วนที่ต้องการสงครามก็มีแต่พวกนักการเมืองทั้งนั้น #ไม่เอาสงคราม

https://twitter.com/idesimoji/status/1101041443513270273

 

ฉันเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ ที่เจ้าของร้าน Dunkin’ Donuts เพื่อนรักของฉัน Iqbal Latif ในปากีสถานแจกจ่ายโดนัทเหล่านี้ให้ฟรีกับคนอินเดียที่ได้มาเยือนประเทศของเรา

 

รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะยุติปัญหานี้อย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป และแน่นอนว่าสุดท้ายคนที่ได้รับผลกระทบสงครามมากที่สุดก็ไม่ใช่ใครนอกจากประชาชนเอง…

 

ที่มา: unilad, cnn


Tags:

Comments

Leave a Reply