งานวิจัยเผย เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับหน้าจอ ส่งผลให้พัฒนาการช้ากว่าปกติ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ เด็กๆ เติบโตมาในโลกดิจิตอล ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งอยู่ตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา

งานวิจัยจากที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ JAMA Pediatrics ระบุว่าการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานๆ มีผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว

 

 

ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากเด็ก 2,441 คน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนอายุ 5 ขวบ โดยทดลองให้เด็กอายุ 2 ขวบ ประกอบคำ 2 คำให้เข้าด้วยกัน และให้เด็กอายุ 5 ขวบเรียงคำ 5 คำให้เป็นประโยค

เพื่อนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเด็กแต่คน ซึ่งใช้เวลาบนหน้าจอ และสื่อต่างประเภทกัน สรุปได้ว่าเด็กที่ใช้เวลาไปกับหน้าจอมากกว่า มีพัฒนาการด้านร่างกาย ทักษะด้านการสื่อสาร และการแก้ปัญหาต่ำกว่าเด็กทั่วไป

 

 

โดยผลการวิจัยเผยว่าเด็ก 2 ขวบ, 3 ขวบ และ 5 ขวบใช้เวลาบนหน้าจอ 17.1, 25, และ 10.9 ชั่วโมงตามลำดับ และถึงแม้ว่านักวิจัยจะไม่ได้เผยถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้สื่อดิจิตอล แต่ Madigan หนึ่งในทีมวิจัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“เมื่อเด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการการช้าลง ซึ่งส่งผลต่ออนาคตของเด็กด้วย”

 

 

นอกจากปัจจัยด้านระยะเวลาที่ใช้ไปกับหน้าจอแล้ว งานวิจัยใน Journal of Cognition and Development ยังเผยปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้พัฒนาการของเด็กต่ำกว่าปกติ เช่น รายได้ การศึกษาและอาชีพของพ่อแม่ เป็นต้น

 

 

แม้ว่าปัจจัยต่างๆ ของผู้ปกครองยากที่จะแก้ไข นักวิจัยแนะนำให้เริ่มที่การจำกัดระยะเวลาการใช้หน้าจอของลูกๆ วัย 2-5 ขวบ เพียงวันละหนึ่งชั่วโมงตามคำแนะนำของ American Academy of Pediatrics 

ทั้งนี้พัฒนาการของเด็กแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับลูกๆ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบแก่เด็กๆในอนาคต

 

ที่มา: thisisinsider


Tags:

Comments

Leave a Reply