จีนทดลองเรือปล่อยจรวดหยั่งอวกาศไร้คนขับลำแรกของโลก ทำงานได้แม้อากาศเลวร้าย

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2019 นักวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนออกมาเปิดเผยเอกสารการทดลองเรือไร้คนขับที่ออกแบบมาเพื่อปล่อย “จรวดหยั่งอวกาศ” (Sounding rocket) ขนาดเล็ก และเป็นเรือไร้ในรูปแบบนี้ลำแรกที่เคยมีการผลิตมาของโลก

 

 

โดยนี่เป็นเทคโนโลยีคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักอุตุนิยมวิทยาในการตรวจสอบสภาพอากาศเหนือมหาสมุทร 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งที่ผ่านมาจำเป็นต้องใช้เรือหรือเครื่องบินในการสำรวจจนทำให้มีต้นทุนการทำงานที่สูง

เรือไร้คนขับที่ว่านี้ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกในปี 2016 และทำการทดลองสำเร็จไปในปี 2017 อย่างไรก็ตามกว่าที่ผลการทดลองจะถูกประกาศออกมาให้โลกรู้มันก็หลังจากนั้นอีกสองปีเลย

 

ภาพของอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพอากาศที่มักใช้งานกันในปัจจุบัน

 

จากที่ระบุไว้ในเอกสารการทดลอง เรือไร้คนขับลำนี้ถูกเรียกว่า Uncrewed Semisubmersible Vehicle (ยานพาหนะไร้คนขับแบบกึ่งจม) หรือ USSV

มันมีความสามารถที่จะฝ่าสภาวะอากาศที่เลวร้ายในทะเลด้วยการดำน้ำ เพื่อไปปล่อยจรวดหยั่งอวกาศในสถานที่ที่ต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์

 

 

โดยตัวจรวดที่ปล่อยขึ้นไปนั้น จะบินขึ้นไปได้สูงสุดราวๆ 8 กิโลเมตรแล้วเพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่ ก่อนที่จะเก็บข้อมูลส่งกลับมายังทีมควบคุมที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ปล่อยภัยอีกที

จริงอยู่ว่าระดับความสูงนี้ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับจรวดหยั่งอวกาศชนิดอื่นๆ แต่มันก็มากพอที่จะเก็บข้อมูลที่นักอุตุนิยมวิทยาต้องการ และคงทนต่อสภาพอากาศซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการทดลอง

 

จรวดหยั่งอวกาศโดยทั่วไปจะต้องปล่อยจากฐานปล่อยจรวดและบินได้สูงถึง 1500 กิโลเมตร

 

 

ความสำเร็จในครั้งนี้อาจจะทำให้การสำรวจพายุกลางทะเลที่เคยเป็นเรื่องอันตรายมากๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และทางทีมวิจัยเองก็หวังจะพัฒนาระบบเซนเซอร์สมุทรศาสตร์ของ USSV ลำนี้ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสืบไปในอนาคต

 

ที่มา livesciencedailymail และ digitaljournal

Comments

Leave a Reply