พบสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบใต้น้ำแข็งหนา 1 ก.ม. ที่แอนตาร์กติกา เป็นครัสเตเชียและหมีน้ำ

ทะเลสาบเมอร์เซอร์ เป็นทะเลสาบในทวีปแอนตาร์กติกาที่มีจุดเด่นอยู่ที่การที่ตัวทะเลสาบถูกฝังอยู่ใต้น้ำแข็งหนา 1 กิโลเมตร ซึ่งหากคิดกันตามปกติแล้ว ไม่น่าที่จะมีสิ่งมีชีวิตใดๆ ไปอาศัยอยู่ได้ และแทบจะไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน

แต่แล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมปี ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ได้รับทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาในการนำสว่านน้ำแรงดันสูงเจาะลงไปใต้พื้นน้ำแข็ง เจาะเอาตัวอย่างโคลนใต้น้ำแข็งขึ้นมาตรวจสอบ

 

 

มันเป็นโคลนที่เก็บเอาต้นไม้ เห็ดรา และตะไคร่น้ำ จากเมื่อราวๆ หนึ่งล้านปีก่อนในสมัยที่แอนตาร์กติกายังคงอบอุ่นเอาไว้ อย่างไรก็ตามหลังจากที่การตรวจสอบดำเนินไปสักพักนักวิทยาศาสตร์ก็พบกลับเรื่องน่าสนใจเขาจนได้

นั่นเพราะที่ใต้น้ำแข็งหนากว่า 1 กิโลเมตรนั้น พวกเขากลับพบ “ครัสเตเชีย” สัตว์น้ำที่มีรูปร่างคล้ายกุ้ง และ “หมีน้ำ” (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ “ทาร์ดิเกรด”) สัตว์ 8 ขาขนาดเล็ก ที่มีขนาดตัวเพียงราวๆ 1 มิลลิเมตรอยู่ที่นั่น

 

 

สำหรับทีมนักสำรวจแล้ว การค้นพบในครั้งนี้นับว่าเป็นอะไรที่คาดไม่ถึงมาก เพราะแม้ว่าสัตว์อย่างหมีน้ำจะได้ชื่อว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูงก็ตาม แต่สถานที่ที่ใกล้เคียงที่สุดที่เป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมของมันก็อยู่ห่างจากที่แห่งนี้ถึง 80 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ความแปลกประหลาดนี้ นั่นทำให้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา ทางนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการส่งสัตว์นำที่พบไปทำการตรวจสอบ DNA เพื่อหาที่มาของพวกมันอย่างละเอียดทันที

 

 

อย่างไรก็ตามจากรายงานของทางทีมสำรวจเอง ดูเหมือนว่ากว่าที่ผลการตรวจสอบ DNA จะเสร็จสิ้นจริงๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเลยทีเดียว

 

ที่มา ancient-origins

Comments

Leave a Reply