Tag: study

  • “3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…

    “3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…

    ในสังคมปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าในสมัยก่อน โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกับความรู้สึกเศร้าของคนทั่วไปที่เกิดขึ้นและหายไปเป็นครั้งคราว พวกเขาจะรู้สึกซึมเศร้าเป็นประจำและแต่ละครั้งก็ยาวนานกว่าปกติ แถมบ่อยครั้งยังไม่รู้สาเหตุของความเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะสังเกตว่าเราหรือคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว หากอยากทราบแน่ชัดต้องไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น แต่ในวันนี้มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่ได้ผ่านผลการรับรองจากนักวิจัยแล้ว ด้วยการสังเกตจากวิธีพูดของแต่ละคนนั่นเอง     งานวิจัยที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Clinical Psychological Science โดยทำการทดลองจากการอ่านบันทึก และฟังบทสนทนาจำนวนมากของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จึงสังเกตเห็นว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปดังนี้   1. มักจะใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งที่เป็นเอกพจน์   คนเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้สรรพนามกล่าวถึงตัวเองเช่น ฉัน ผม หรือเรา(ในกรณีที่หมายถึงตัวเองคนเดียว) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก อาจจะเป็นเพราะเพวกเขาชอบปลีกตัวมาอยู่คนเดียวมากกว่าจะอยู่คนจำนวนมากก็ได้ อีกทั้งการใช้สรรพนามแบบนี้ ยังทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นโรคซีมเศร้ามักจะให้ความสนใจกับตัวเองและแนวคิดของตัวเองมากเป็นพิเศษ และไม่ค่อยสนใจแนวคิดในแบบของคนอื่นมากนัก   2. พูดถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง   เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะใช้คำที่มีความหมายเชิงลบมากกว่า โดยคำพูดเหล่านั้นมักจะเกี่ยวกับอารมณ์ในเชิงลบเช่น เศร้า และเหงา เป็นต้น และยังรวมไปถึงคำพูดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของตัวเองด้วย แต่ผลการวิจัยก็ชี้ว่าการใช้สรรพนามบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้คำพูดในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด   3. ภาษาที่ใช้มักจะมีความสุดโต่ง   เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มักจะใช้ภาษาแบบสุดโต่ง (ถ้าไม่ขาวก็ดำไปเลย ไม่มีระหว่างกลาง) มากกว่าที่คิด อย่างเช่นคำว่า เป็นประจำ ไม่เคย เต็มไปหมด…

  • สาวก “แกงกะหรี่” โปรดทราบ การกินกะหรี่ช่วยคุณให้มีความสุข และความจำดีขึ้นด้วย

    สาวก “แกงกะหรี่” โปรดทราบ การกินกะหรี่ช่วยคุณให้มีความสุข และความจำดีขึ้นด้วย

    แกงกะหรี่เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากทางประเทศอินเดีย ด้วยความที่อาหารประเภทนี้ใส่เครื่องเทศปริมาณมากจึงทำให้มันมีกลิ่นหอมถูกใจผู้บริโภค แต่หลายคนก็ยังคงหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้เพราะมันมักจะมีรสจัด แถมพอทานแล้วก็ทำให้กลิ่นตัวแรงด้วย ทว่าตอนนี้นักวิจัยมีข่าวดีเพิ่มเติมมาบอกกับคนชอบทานแกงกะหรี่ มี ผลวิจัย จากเว็บไซต์รวมงานวิจัย American Journal of Geriatric Psychiatry ออกมาแล้วว่า การทานแกงกะหรี่นอกจากจะได้ความอร่อยก็ยังทำให้เรามีความสุขมากกว่าเดิม และก็ช่วยเสริมสร้างความจำที่ดีอีกด้วย     โดยพระเอกในงานวิจัยที่ทำให้เราแฮปปี้และไม่ขี้ลืมก็คือ ขมิ้น นั่นเอง เครื่องเทศชนิดนี้มักจะใช้เป็นส่วนผสมของแกงหลากหลายประเภท ในขมิ้นก็จะมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เคอร์คิวมิน อยู่ซึ่งมันมีคุณสมบัติลดการอักเสบ ทั้งยังสามารถต้านทานอนุมูลอิสระได้ดีด้วย แต่นักวิจัยก็คิดว่าสารเคอร์คิวมินน่าจะช่วยให้คนมีความจำดีเช่นกัน เพราะพวกเขาสังเกตเห็นว่าประชาชนในประเทศอินเดียที่บริโภคสารตัวนี้เป็นประจำ มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่ำกว่าในพื้นที่อื่น     Dr.Gray Small เป็นผู้อำนวยการด้านจิตเวชในผู้สูงอายุของศูนย์ศึกษาอายุยืน จากมหาวิทยแคลิฟอร์เนียในรัฐลอสแองเจลิส และยังเป็นผู้นำการวิจัยในครั้งนี้กล่าวถึงการทำงานของเคอร์คิวมินว่า “แม้ว่าเราจะไม่รู้แน่ชัดว่าเคอร์คิวมินทำงานอย่างไร แต่การที่มันช่วยลดการอักเสบในสมองซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์และโรคซึมเศร้า น่าจะเป็นสาเหตุที่มันช่วยพัฒนาความจำของผู้บริโภคได้”     Small ได้ทำ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ศึกษาเกี่ยวกับการช่วยเรื่องความจำของเคอร์คิวมิน โดยให้อาสาสมัครผู้ใหญ่ 40 คนในช่วงอายุ 50-90 ปี สุ่มได้รับสารเคอร์คิวมิน 90 กรัม และยาหลอกเป็นเวลานาน 18 เดือน เขาวัดผลโดยการใช้เครื่อง Positron Emission Tomography (PET) อ่านคลื่นสมองของอาสาสมัครทั้งก่อนและหลังจากการได้รับสารเคอร์คิวมิน แล้วให้พวกเขาทำแบบทดสอบความจำก่อนและหลังรับสารที่ว่านี้ด้วย…

  • รู้จักกับเจ้า Chester แมวเหมียววิเชียรมาศ ผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยทำ ‘ปริญญานิพนธ์’ ด้านฟิสิกส์

    รู้จักกับเจ้า Chester แมวเหมียววิเชียรมาศ ผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยทำ ‘ปริญญานิพนธ์’ ด้านฟิสิกส์

    นอกจากแมวเหมียวจะเป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อนรัก หรือพระเจ้าที่น่ารักน่าเอ็นดูของใครหลายคนแล้ว เจ้าสัตว์ขนฟูสี่เท้านี้มันยังเป็นสัตว์ที่ฉลาดมากเสียด้วย ถ้าถามว่าฉลาดมากแค่ไหนล่ะก็ มันเคยมีแมวตัวหนึ่งที่ได้เป็นผู้ร่วมทำปริญญานิพนธ์ทางด้านฟิสิกส์มาแล้วด้วยนะ   F.D.C. Willard (เจ้า Chester)   เจ้าเหมียวพันธุ์วิเชียรมาศตัวนี้มีชื่อว่า Chester และมีนามปากกาว่า F.D.C. Willard เกิดเมื่อปี 1968 และตายเมื่อปี 1982 ส่วนเจ้าของของมัน เป็นชายชื่อ Jack H. Hetherington เขาเคยเป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Michigan State University แต่เจ้าแมวไม่ได้เขียนหนังสือได้ หรือว่าช่วย Hetherington วิจัยแต่อย่างใดเลย สาเหตุที่มันได้เป็นผู้ร่วมทำปริญญานิพนธ์เริ่มต้นในปี 1975 เจ้าของของมันต้องการตีพิมพ์ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ Low-Temperature Physics ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสถานะของสิ่งของในอุณหภูมิต่ำ   ปริญญานิพนธ์โดย Jack H. Hetherington และมี F.D.C. Willard เป็นผู้ช่วย   แต่ว่าเพื่อนร่วมงานของเขาก็สังเกตเห็นว่า ปริญญานิพนธ์ของเขาใช้สรรพนามพหูพจน์ ซึ่งแปลว่ามันจำเป็นต้องมีคนทำหลายคน ถ้าเขาส่งปริญญานิพนธ์ไปทั้งๆ แบบนี้ มันก็ต้องโดนตีกลับแน่นอน…

  • ผลวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่าโดยทางชีวภาพแล้ว ‘ผู้หญิง’ มีความแข็งแรงกว่าผู้ชาย!?

    ผลวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่าโดยทางชีวภาพแล้ว ‘ผู้หญิง’ มีความแข็งแรงกว่าผู้ชาย!?

    แม้ว่าตั้งแต่อดีตกาล เราจะได้ยินมาเสมอว่าผู้ชายนั้นมีร่างกายกำยำ จึงมีพละกำลังมากกว่าผู้หญิง ดังนั้นหากมีงานที่ต้องลงมือลงแรงอย่างเช่น ยกของ ตัดไม้ หรือแม้แต่ต่อสู้ เราก็จะเข้าใจว่าผู้ชายมักจะทำได้ดีกว่าผู้หญิง แต่ในวันนี้ มีผลวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาแล้วว่าผู้หญิงมีความแข็งแกร่งทางชีวภาพมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มว่าจะเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์เลวร้ายได้มากกว่าผู้ชายด้วย     ผลวิจัยนี้เผยแพร่มาจาก Proceedings of the National Academy of Scientists (PNAS) ซึ่งเป็นวารสารชื่อดังเกี่ยวกับงานจิวัยทางวิทยาศาสตร์ โดยนักวิจัยศึกษาข้อมูลจากการเปรียบเทียบอัตราการตายระหว่างผู้ชายและผู้หญิง เมื่อต้องต่อสู้กับความอดอยาก โรคระบาด และการเป็นทาส จากข้อมูลพบว่า นอกจากข้อมูลของทาสในศตวรรษที่ 19 และการปลดปล่อยทาสชาวลิไบเรีย ในสาธารณรัฐตรินิแดดซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันแล้ว ข้อมูลที่เหลือทั้งหมดระบุว่าผู้หญิงมีอัตราการอยู่รอดมากกว่าผู้ชายทั้งสิ้น     โดยในกลุ่มทาสระหว่างปี 1813 ถึง 1816 อายุคาดเฉลี่ยของทาสชาย หรือก็คือตัวเลขอายุที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงนั้นอยู่ที่ 15.18 ปี ส่วนอายุคาดเฉลี่ยของทาสผู้หญิงเท่ากับ 13.21 ปี ซึ่งต่ำกว่าของผู้ชาย และในส่วนของการปลอดปล่อยทาสชาวไลบีเรีย อายุคาดเฉลี่ยของคนในช่วงอายุ 35 ถึง 49 ปี ก็พบว่าผู้ชายมีอายุคาดเฉลี่ยสูงกว่าผู้หญิงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงอายุอื่นๆ ของกลุ่มตัวอย่างนี้ ผู้หญิงมีค่าอายุคาดเฉลี่ยสูงกว่าผู้ชายหมดเลย…