Tag: อคติ

  • เด็กสาว ม.ต้น เขียนเรียงความสุดซึ้ง ‘ปฏิเสธคนจังหวัดฟุกุชิมะ’ ชนะใจคนญี่ปุ่นทั้งประเทศ

    เด็กสาว ม.ต้น เขียนเรียงความสุดซึ้ง ‘ปฏิเสธคนจังหวัดฟุกุชิมะ’ ชนะใจคนญี่ปุ่นทั้งประเทศ

    ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ณ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเหตุทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกมา และถือว่าเป็นภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เชอร์โนบิลในปี 1986     สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาต่อจากนั้นก็คือ ความเกลียดชังของผู้คนรอบข้างที่มีต่อจังหวัดฟุกุชิมะและชาวบ้านที่อยู่อาศัยเติบโตภายในจังหวัดนี้ ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนเลือกให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และไม่อยากให้เกิดความหายนะเช่นนี้ด้วย เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความเกลียดชังที่เกิดขึ้นในใจของชาวญี่ปุ่น Ruzo Maoma อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นมัธยมปี 3 ได้ส่งเรียงความเรื่อง ‘ปฏิเสธตัวตนของจังหวัดฟุกุชิมะ’ เข้าประกวดในงาน การเขียนเรียงความสิทธิมนุษยชนจากนักเรียนชั้นมัธยมต้นทั่วประเทศครั้งที่ 36 โดยมีใจความดังต่อไปนี้   ปฏิเสธตัวตนของจังหวัดฟุกุชิมะ   นี่เป็นเรื่องที่ทำให้ฉันช็อคมาก สำหรับการเป็นคนจังหวัดฟุกุชิมะอย่างฉัน ฉันเกิดและเติบโตในเมืองมินะมิโซมะ จังหวัดฟุกุชิมะ จนถึงกระทั่งชั้น ป. 3 เมื่อพูดถึงเมืองมินะมิโซมะ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านเทศกาลและวัฒนธรรม ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ในอดีตมาอย่างช้านาน ฉันรักผู้คนและเมืองมินะมิโซมะในแบบที่เป็นอยู่อย่างนี้… แต่ทว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และนั่นก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะสารกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมา ทำให้เมืองมินะมิโซมะกลายเป็นเมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยไม่ได้อีกต่อไป และตัวฉันเองก็ต้องย้ายหลบภัยไปอยู่กับญาติพร้อมกับครอบครัวที่จังหวัดโทะชิงิแทน เมื่อไปถึงที่นั่น ก็พบกับข้อความสติ๊กเกอร์บนรถยนต์คันหนึ่ง ในลานจอดรถร้านค้าที่แวะข้างทางว่า…

  • “โค้ก” ทำแคมเปญอันทรงพลัง เอาโลโก้ออก เพื่อสื่อ “อย่าตัดสินคนแค่ภายนอก”

    “โค้ก” ทำแคมเปญอันทรงพลัง เอาโลโก้ออก เพื่อสื่อ “อย่าตัดสินคนแค่ภายนอก”

    โค้กหรือโคล่าโคล่า ถือเป็นแบรนด์ที่เก่าแก่และเราเห็นอยู่แทบทุกวัน ทุกครั้งที่โค้กปล่อยแคมเปญแต่ละอย่างออกมามันก็เจ๋งๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเอาเนื้อเพลงไปพิมพ์ลงบนข้างกระป๋อง หรือจะเป็นการส่งโค้กให้คนในครอบครัว แต่ครั้งนี้โค้กได้นำเอาโลโก้พร้อมกับตัวหนังสือทุกอย่างออกไป ซึ่งแคมเปญนี้เกิดขึ้นที่ตะวันออกกลาง เพื่อรณรงค์ให้คนไม่ตัดสินคนอื่นจากภายนอก     แคมเปญนี้อยู่ในช่วงรอมฎอน หรือเทศกาลถือศีลอดนั่นเอง โดยทั้งกระป๋องจะมีเพียงแถบสีขาวเท่านั้นที่ยังอยู่ และมีตัวหนังสือเขียนกำกับไว้ว่า “Labels are for cans, not for people.” หรือจะแปลก็คือ “ยี่ห้อมีไว้สำหรับกระป๋อง ไม่ใช่สำหรับคน” ฟังดูอาจจะงงๆ แต่ถ้ามองดูดีๆแล้วก็จะเข้าใจ ตราสัญลักษณ์หรือยี่ห้อคือสิ่งที่ทำให้คนเห็นแล้วรู้สึกแล้วจำได้ว่าสินค้าตัวนี้เป็นยังไง แต่ถ้าเอาตราออกไป คนก็จำไม่ได้ และไม่สามารถตัดสินได้ว่าในกระป๋องนี้มีอะไรอยู่ เช่นเดียวกับความคิดของคนที่เวลาเราไปพบกับคนที่สัญชาตินี้ หรือนับถือศาสนานี้ เราอาจจะคิดไปเองว่าเขาเป็นยังไง แท้ที่จริงแล้วเรายังไม่ทันได้รู้จักเขาจริงๆเลย     แคมเปญนี้สร้างโดย FP7 และ Memac Ogilvy ซึ่งเขาได้ทำหนังสั้นมาอีกเรื่องเพื่อเสริมเข้ากับแนวคิดนี้ โดยการนำเอาคนที่ไม่รู้จักกัน ต่างเชื้อชาติและศาสนา ต่างที่มา ต่างบุคลิกมาทานอาหารร่วมกันในความมืด ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละคนก็มองไม่เห็นกัน ทำได้แค่เพียงคุยกันเท่านั้น หัวข้อที่พวกเขาคุยกันก็มีหลากหลายตามประสาผู้ชายทั่วไป แต่เมื่อไฟเปิดขึ้นมา ทุกคนก็ได้เจอกับบุคคลที่พวกเขาคุยด้วยเมื่อกี้ ซึ่งก็ได้แก่ชายที่สักเต็มหน้า ชาย 2 คนที่ใส่ชุดอาหรับ และชายที่นั่งอยู่บนวีลแชร์ หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้เปิดกล่องดู ซึ่งข้างในได้บรรจุโค้กกระป๋องที่ดีไซน์ใหม่โดยไม่มีโลโก้แล้วพวกเขาก็คิดถึงประโยค “ยี่ห้อมีไว้สำหรับกระป๋อง”…