Tag: กัมมันตภาพรังสี

  • ส่องชีวิตน้องหมารุ่นลูกหลานในเขต ‘เชอร์โนบิลล์’ ถูกมนุษย์ทิ้งไว้ตอนอพยพเมื่อปี 1986

    ส่องชีวิตน้องหมารุ่นลูกหลานในเขต ‘เชอร์โนบิลล์’ ถูกมนุษย์ทิ้งไว้ตอนอพยพเมื่อปี 1986

    เหตุการณ์สำคัญระดับโลกที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1986 ที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาตร์นั่นก็คือเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด ประเทศยูเครนระเบิดออกมา เป็นเหตุทำให้กัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมา ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1986 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้เกิดเหตุข้อผิดพลาดของระบบหล่อเย็นจนกลายเป็นระเบิดขนาดใหญ่ ทางการจึงต้องสั่งประกาศอพยพมนุษย์ในเมืองกว่า 120,000 รายออกจากเมืองอย่างเร่งด่วน ผลพวงจากกัมมันตภาพรังสีแผ่วงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในเมือง ทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองร้างในที่สุด   .   จากการอพยพในครั้งนั้น ชาวบ้านต้องสละทรัพย์สินทั้งหมด ทิ้งบ้านทิ้งเมืองของตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด รวมไปถึงการทิ้งเหล่าสัตว์เลี้ยงทั้งหลายให้ต้องเผชิญกับกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมา     สุนัขทั้งหลายที่ถูกทิ้งไว้ บางส่วนก็ต้องถูกกำจัด และมีบางส่วนที่หลบหนีหายไปในป่า จนกระทั่งหลายปีต่อมาพวกมันออกลูกออกหลานจนมีจำนวนหลายร้อยตัว และได้กลับเข้ามายึดครองพื้นที่เมืองร้างแห่งนี้     สุนัขทั้งหลายที่อยู่ในเมือง ได้รับการดูแลโดย Clean Futures Fund (CFF) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่คอยดูแลและสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุอุตสาหกรรมในครั้งนั้น     มูลนิธิ CFF ได้คาดการณ์ว่าอาจจะมีสุนัขจรจัดที่อยู่ในเมืองนี้มากกว่า 250 ตัวและอีกหลายร้อยตัวที่อาศัยอยู่ในป่า จึงได้จัดตั้งคลีนิกสัตว์เฉพาะกิจขึ้นมา ณ เมืองร้างแห่งนี้เพื่อคอยดูแลรักษา ฉีดวัคซีน ทำหมันให้กับสุนัขเหล่านี้     สุนัขที่อยู่ในเมืองนี้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีที่ยังตกค้างอยู่ในพื้นที่ ส่งผลทำให้สุนัขในเมืองนี้มีอายุสั้น…

  • “กลุ่มนักช่วยสัตว์แห่งเชอร์โนบิล” แม้จะเสี่ยงภัยจากรังสี แต่ก็ยอมเพื่อให้มันมีชีวิตที่ดีขึ้น

    “กลุ่มนักช่วยสัตว์แห่งเชอร์โนบิล” แม้จะเสี่ยงภัยจากรังสี แต่ก็ยอมเพื่อให้มันมีชีวิตที่ดีขึ้น

    พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการคายความร้อน ปัจจุบันใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์มีคุณประโยชน์มากแต่ก็มีโทษมากเช่นเดียวกัน หลายๆ คนอาจทราบถึงอานุภาพของพลังงานนิวเคลียร์เป็นอย่างดี จากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาจนมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก เรื่องราวของ เชอร์โนบิล (Chernobyl) ประเทศยูเครน หลายๆ คนอาจเคยทราบถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ ที่มีเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งสำคัญของโลก ที่ผ่านมากว่า 31 ปีแล้วผู้คนก็ยังไม่มีวันลืม     วันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ทางตอนเหนือของยูเครน ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็นและระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบนั้นมีความผิดพลาด เมื่อระบบไม่ทำงาน แรงดันไอน้ำได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความร้อนพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วถึง 2,000 องศาเซลเซียส แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกหลอมละลายด้วยความร้อนและระเบิดทันที     อุบัติเหตุในครั้งนี้คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ไปกว่า 32 ราย ผู้คนที่อาศัยในเมืองใกล้ๆ อย่างเมืองพรีเพียตต้องอพยพโดยด่วนกว่า 300,000 ราย อีกทั้งสารกัมมันตภาพรังสีก็ยังส่งผลเสียระยะยาว ผู้คนกลายเป็นโรคมะเร็ง และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ต้องเสียไป จนปัจจุบันเมืองพรีเพียตก็ยังเป็นเมืองร้างที่มีระดับสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ในปริมาณมาก     เมื่อ 31 ปีที่แล้ว ชาวเมืองทุกคนต้องอพยพตัวเองออกจากบ้านเกิดเมืองนอน ในขณะนั้นทุกคนต่างจำเป็นต้องเอาตัวรอด…

  • รัฐบาลสหรัฐฯ แนะ สิ่งที่พวกคุณควรจะเตรียมไว้ หากเกิด “ระเบิดนิวเคลียร์” ขึ้นจริงๆ !!

    รัฐบาลสหรัฐฯ แนะ สิ่งที่พวกคุณควรจะเตรียมไว้ หากเกิด “ระเบิดนิวเคลียร์” ขึ้นจริงๆ !!

    เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจจากทั่วโลกเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ เกาหลีเหนือกำลังคุกคามโลกตะวันด้วยการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นเวลานานหลายเดือน โดยผู้นำ Kim Jong-Un สั่งให้มีการเปิดตัวการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ICBM ที่ทางผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารเชื่อว่าขีปนาวุธใหม่นี้ อาจเป็นชนิดที่สามารถยิงไปถึงแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐฯ ได้     ไม่น่าแปลกใจเลยที่รัฐบาลอเมริกันจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ นั่นจึงทำให้พวกเขาได้ออกมาแนะนำวิธีที่จะทำให้อยู่รอด และสิ่งที่จะต้องเตรียม หากสงครามเกิดขึ้น และต้องมีการนำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้ โดยพวกเขาได้รวบรวมรายชื่ออุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อช่วยให้คุณมีโอกาสอยู่รอดหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย…   1. น้ำหนึ่งแกลลอนต่อคนต่อวัน สำหรับการดื่มและการสุขาภิบาล โดยให้อยู่ได้เป็นเวลาอย่างน้อยสามวัน 2. เตรียมอาหารที่ไม่ค่อยเน่าเปื่อยเพื่อบริโภค โดยให้อยู่ได้เป็นเวลาอย่างน้อยสามวัน 3. แบตเตอรี่ขับเคลื่อน หรือวิทยุสื่อสาร และวิทยุสภาพอากาศ พร้อมการแจ้งเตือนด้วยเสียงและแบตเตอรี่สำรอง 4. ไฟฉายและแบตเตอรี่เสริม 5. ชุดปฐมพยาบาล     6. นกหวีดเพื่อขอความช่วยเหลือ 7. หน้ากากป้องกันฝุ่น 8. ผ้าเช็ดตัว ถุงขยะและถุงพลาสติก เพื่อสุขาภิบาลส่วนบุคคล 9. ประแจหรือคีมเพื่อปิดระบบสาธารณูปโภค 10. เครื่องเปิดอาหาร (หากมีอาหารกระป๋อง) 11.…