Tag: ดาวเสาร์

  • ภาพสุดท้ายของ ‘ดาวเสาร์’ จากยาน Cassini ที่อยู่ในวงโคจรของดาวเคราะห์นี้นานกว่า 13 ปี

    ภาพสุดท้ายของ ‘ดาวเสาร์’ จากยาน Cassini ที่อยู่ในวงโคจรของดาวเคราะห์นี้นานกว่า 13 ปี

    ยานอวกาศไร้คนขับที่ชื่อว่า Cassini ขององค์การ NASA ถูกส่งขึ้นไปเพื่อทำภารกิจสำรวจดาวเสาร์มานานถึง 13 ปี จนกระทั่งในวันที่ 15 กันยายน 2017 ภารกิจของมันก็สามารถสำเร็จลงได้ด้วยดี ก่อนที่มันจะต้องทำลายตัวเองด้วยการบินเข้าไปในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์และเผาไหม้ไปในที่สุด สิ่งที่มันเหลือเอาไว้จากภารกิจนี้ก็คือรูปภาพของดาวเสาร์จำนวนมาก และนี่ก็คือภาพสุดท้ายที่มันถ่ายเอาไว้ได้ก่อนการทำลายตัวเอง โดยภาพนี้คือการรวมกันของภาพทั้ง 80 รูปที่ถูกถ่ายในเวลา 2 ชั่วโมงในมุมกล้องที่แตกต่างกันไป จนกลายมาเป็นภาพที่มีความสวยงามอย่างมาก นี่คือหน้าตาของยาน Cassini   ภาพสุดท้ายของดาวเสาร์ที่ถูกถ่ายโดยยาน Cassini   ภาพดังกล่าวต้องผ่านการกรองด้วยการถ่ายที่ใช้สี แดง เขียว และฟ้า เมื่อนำมาผสมกันสีที่ได้จึงมีความเป็นธรรมชาติอย่างที่เราเห็น ยาน Cassini ได้ถ่ายภาพนี้เอาไว้ขณะที่อยู่ห่างจากดาวเสาร์ประมาณ 1.1 ล้านกิโลเมตร ทำให้หากเราลองมองเข้าไปดีๆ ก็จะเห็นดวงจันทร์ประจำดาวเสาร์จำนวน 6 ดวง ได้แก่ Enceladus, Epimetheus, Janus, Mimas, Pandora และ Prometheus   จุดตำแหน่งของดวงจันทร์ 6 ดวงที่สามารถมองเห็นได้ในภาพ   ภาพนี้ถูกถ่ายในด้านตรงข้ามกับแสงอาทิตย์และทำมุม 15…

  • 19 ข้อมูลที่ดูอาจดู “เป็นเรื่องโกหก” ในตอนแรก แต่แท้จริงแล้วมันคือเรื่องจริงต่างหาก!!

    19 ข้อมูลที่ดูอาจดู “เป็นเรื่องโกหก” ในตอนแรก แต่แท้จริงแล้วมันคือเรื่องจริงต่างหาก!!

    บ่อยครั้งที่เรามักจะเคยได้ยินเรื่องสถิติต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องราวเหลือเชื่อต่างๆ เหล่านั้นบางอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง!! และวันนี้ #เหมียวเวจจี้ ก็ได้รวบรวมข้อมูลแปลกๆ เหล่านั้นมาฝากเพื่อนๆ กัน จะมีเรื่องเหลือเชื่ออะไรบ้างนั้นไปชมกันเลย…   1. มหาวิทยาลัย Oxford มีอายุมากกว่าอาณาจักร Aztec มหาวิทยาลัย Oxford นั้นเปิดรับนักศึกษาคนแรกเมื่อปี 1096 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้าการก่อตั้งอาณาจักร Aztec ถึง 200 ปี   2. การเกี่ยวก้อยสัญญา ถ้าหากคนที่ทำผิดสัญญาจะถูกตัดนิ้วก้อย!! การเกี่ยวก้อยสัญญาอาจจะดูเหมือนการสัญญาแบบเด็กๆ แต่ในสมัยเอโดะ ในกลุ่มของเหล่าอาชญากร หากมีการผิดคำสัญญานั้น ผู้ที่ทำผิดจะต้องโดนตัดนิ้วก้อยด้านขวาเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจงรักภักดีของพวกเขา   3. ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ มีฝนตกเป็นเพรช นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าแรงดันภายในดวงดาวทั้งสองดวงนั้นสามารถเปลี่ยนให้คาร์บอนกลายเป็นเพรชได้ โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากที่ฟ้าผ่า จากนั้นจะเปลี่ยนให้ก๊าซมีเทนกลายเป็นคาร์บอน หลังจากนั้นก้อนคาร์บอนจะเปลี่ยนเป็นแกรไฟต์ที่ความสูง 1,600 กิโลเมตร และจะเปลี่ยนเป็นเพชรที่ความสูง 6,000 กิโลเมตร   4. มีมดมากกว่าจำนวนประชากรโลกถึง 1.6 ล้านตัวต่อคนเลยทีเดียว!! นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณว่ามีมดทั้งหมดบนโลกนี้ประมาณ 1-10 ล้านล้านล้านล้านตัว นั่นหมายความว่ามันมีจำนวนประชากรมากกว่า…

  • ชมภาพถ่ายโคลสอัพของ “วงแหวนดาวเสาร์” จากนาซ่า ที่มีรายละเอียดชัดเจนที่สุด!!

    ชมภาพถ่ายโคลสอัพของ “วงแหวนดาวเสาร์” จากนาซ่า ที่มีรายละเอียดชัดเจนที่สุด!!

    “ดาวเสาร์” ถือเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่มีเอกลักษณ์ที่ดูโดดเด่น แปลกตา น่าค้นหากว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เนื่องจากมีวงแหวนล้อมรอบ ดังนั้นจึงทำให้ภาพลักษณ์ภายนอกของดาวเสาร์ดูสง่างามเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเราได้มองภาพของดาวเสาร์ สิ่งที่ทำให้เราสนใจก็คือ วงแหวนที่ล้อมรอบ นั่นเอง ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะทำให้หลายๆ คนอยากเห็นภาพชัดๆ ของวงแหวนว่ามันเป็นอย่างไร และในวันนี้เราได้นำภาพมาให้ชมแล้ว     วันที่ 31 มกราคม 2560 ทางสำนักข่าวเดลีเมล์ได้เผยภาพถ่ายที่น่าสนใจจากนาซ่า ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นภาพโคลสอัพของวงแหวนดาวเสาร์ ที่ว่ากันว่านี่เป็นภาพวงแหวนที่มีรายละเอียดเยอะที่สุดเป็นประวัติการณ์… โดยทั้งหมดนี้เป็นภาพที่ถูกบันทึกโดยยานอวกาศ Cassini ที่ทางนาซ่าได้ส่งขึ้นไปออกสำรวจตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งในตอนนั้นก็ได้มีการเก็บภาพความสวยงามของดาวดวงนี้เอาไว้มากมาย และล่าสุดหลังจากที่ทางนาซ่าได้ออกมาเผยแพร่ภาพจากยานดังกล่าวอีกครั้ง ก็ทำให้เราได้พบกับสิ่งที่น่าสนใจของดาวเสาร์มากขึ้นมากกว่าเดิม     ภาพถ่ายชิ้นส่วนที่สวยงาม และน่าสนใจของระบบสุริยะอย่างดาวเสาร์ที่ใกล้สุดๆ ที่หลายๆ คนไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะมันได้ให้เราเห็นถึงลายละเอียดของแผ่นน้ำแข็งที่โคจรอยู่รอบดาวชัดเจนมากยิ่งขึ้น     สำหรับยานอวกาศ Cassini ได้เริ่มออกสำรวจดาวเสาร์ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2016 ไปจนถึงเดือนเมษายน 2017  โดยจะโคจร 20 รอบ เริ่มจากการผ่านขั้วเหนือดาวเสาร์ แล้วออกไปยังวงแหวนเอฟของดาวเสาร์ด้วยวงโคจร Ring-Grazing Orbits    …