ชม “Ultima Thule” วัตถุรูปร่างคล้ายสโนว์แมนที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมาในระบบสุริยะ

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังฉลองปีใหม่อยู่ ห่างออกไปจากโลกราวๆ 6,400 ล้านกิโลเมตร ยาน “New Horizons” ของนาซาก็ได้บินผ่าน “Ultima Thule” วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมาในระบบสุริยะ

นี่นับว่าเป็นการบินเข้าใกล้ Ultima Thule มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยก็ว่าได้ เพราะในคราวนี้ยาน New Horizons สามารถถ่ายภาพของ Ultima Thule ในระยะห่างเพียง 3,500 กิโลเมตรเท่านั้น

 

 

Ultima Thule มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “2014 MU69” โดยมันเป็นวัตถุที่มีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าหรือสโนว์แมน ซึ่งมีการค้นพบเมื่อปี 2014 วัตถุชิ้นนี้มีขนาดอยู่ที่ 33 x 14 กิโลเมตร และคาดกันว่าอาจเกิดจากวัตถุสองชิ้นที่เชื่อมกันในอวกาศ

วัตถุชิ้นนี้เชื่อกันว่าอยู่มาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของระบบสุริยะ ก่อนที่จะเย็นตัวลงเป็นเวลาหลายพันล้านปีและอยู่ในสภาพที่เห็นเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน

 

Ultima Thule เชื่อกันว่าจริงๆ แล้วน่าจะมีสีแดง

 

แม้ว่าในเบื้องต้นจะยังมีเพียงภาพของตัววัตถุเท่านั้นที่ส่งกลับมายังโลกแต่จากการเปิดเผยของทางนาซา ดูเหมือนว่าจริงๆ แล้วยาน New Horizons จะมีข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับ Ultima Thule อยู่อีกมาก

อย่างไรก็ตามเนื่องจากระยะทางระหว่างโลกกับยาน New Horizons นั้นค่อนข้างไกล ทำให้ข้อมูลต้องใช้เวลาในการรับส่งอีกนานเลยทีเดียว เพราะแค่ภาพของ Ultima Thule เอง ก็ยังเพิ่งส่งมาถึงโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคมเท่านั้น

 

 

โดยจากคำบอกเล่าของทางนักวิทยาศาสตร์ ข้อมูลของยาน New Horizons จะถูกส่งมาครบทั้งหมดภายในเวลาประมาณ 20 เดือน ซึ่งนั่นหมายความว่ากว่าที่เราจะได้วิเคราะห์ข้อมูล Ultima Thule อย่างจริงจังมันก็ในปี 2020 เลยทีเดียว

 

ที่มา bbclivescience


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply