ย้อนรอย “บทเพลงวันคริสต์มาส” ตั้งแต่บทเพลงในวันเหมายัน สู่เพลงดังแห่งยุควิกตอเรีย

บทเพลงที่ใกล้เคียงกับเพลงคริสต์มาสที่สุด เชื่อกันว่าถูกร้องในยุโรปมาตั้งแต่สองพันกว่าปีก่อน แต่นี่ไม่ใช่เพลง “คริสต์มาส แครอล” อย่างที่เรารู้จัก มันเป็นเพียงเพลงที่เหล่าคนนอกศาสนาร้องกันในวันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุดก็เท่านั้น

 

 

อย่างไรก็ตามเรื่องราวหลายๆ อย่างก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อศาสนาคริสต์เข้ามาในยุโรป เนื่องจากศาสนาคริสต์พยายามจะรวมเอาคนนอกศาสนาในพื้นที่อย่างสันติ ดังนั้นพิธีกรรมในอดีตหลายๆ อย่างจึงถูกผนวกเข้ากับคริสต์ศาสนาไป

ในช่วงนี้เองที่ วันคริสต์มาส ได้กำเนิดขึ้น โดยในเวลานั้นเพลงที่มักจะถูกร้องในวันคริสต์มาส จะเป็นเพลง “Angel’s Hymn” เพลงที่บิชอปแห่งโรมบอกให้คริสตชนร้องในช่วงปี ค.ศ. 129 อย่างไรก็ตามเนื้อร้องของเพลงนี้ในสมัยก่อนยังเป็นภาษาลาติน และแทบจะไม่มีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

 

เทเลสฟอรุสบิชอปแห่งโรม

 

ลักษณะของเพลงวันคริสต์มาสเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 1223 เมื่อเซนต์ฟรังซิสแห่งอัสซีซี เริ่มให้ชาวบ้านร้องเพลงวันคริสต์มาสในภาษาที่พวกเขาเข้าใจ

การกระทำของเขาเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้าถึงความสนุกของเพลงมากขึ้น และเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ๆ ก็โผล่มาในประเทศแถบยุโรปมากมายตลอดช่วงศตวรรษที่ 14-15

 

หนึ่งในภาพการใช้ชีวิตของเซนต์ฟรังซิสแห่งอัสซีซี

 

น่าเสียดายที่หลังจากช่วงนี้ไม่นานกลุ่มพิวริตัน (กลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่มีความเคร่งครัดกว่าคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป) ได้เขามาปกครองประเทศอังกฤษ ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าว งานวันคริสต์มาสและการร้องเพลงคริสต์มาสจึงถูกห้ามไป (เพราะถูกมองว่าไม่จำเป็น)

แต่แม้จะถูกห้าม เพลงคริสต์มาสก็ไม่ได้หายไปเลย เพราะยังมีคนบางกลุ่มที่แอบแต่งแอบร้องเพลงคริสต์มาสเรื่อยมาอย่างลับๆ และบทเพลงคริสต์มาสอย่าง Joy to the World (1719) เองก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เช่นกัน

 

กลุ่มพิวริตันกับหมวกอันเป็นเอกลักษณ์

 

จนกระทั่งก่อนจะถึงสมัยวิกตอเรียเล็กน้อย ในที่สุดเพลงคริสต์มาสก็กลับมาอย่างเต็มตัว มีเพลงคริสต์มาสภาษาละตินจำนวนมาก ถูกแปลจากภาษาละตินเป็นภาษาอังกฤษ อย่าง O Come, All Ye Faithful ในปี 1841

และก็เป็นในช่วงนี้เองที่เพลงคริสต์มาสอมตะนิรันดร์กาล ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Silent Night (1818) และ Jingle Bells (1857) ปรากฏขึ้นมาให้เราได้เห็นเป็นครั้งแรก และอยู่คู่กับวันคริสต์มาสเรื่อยมา แม้แต่ในปัจจุบัน

 

 

ที่มา whychristmasfollowhissteps และ study

Comments

Leave a Reply