รู้หรือไม่ ในอดีต “มหาพีระมิดแห่งกิซ่า” ที่เรารู้จักกันเคยเป็นสีขาวเปล่งประกายมาก่อน

มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (บางครั้งก็เรียกว่าพีระมิดคูฟู หรือพีระมิดคีออปส์) คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งยังคงเต็มไปด้วยปริศนา ทั้งที่มีนักวิทยาศาสตร์มากมายที่พยายามไขปริศนาของมัน

แต่ถึงแม้ว่าพีระมิดแห่งกิซ่าจะเป็นพีระมิดที่มหัศจรรย์เพียงไหน พีระมิดแห่งนี้ก็ใช่ว่าจะผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันได้โดยที่ไม่ได้รับความเสียหายเลยแม้แต่นิดเดียว

 

 

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้อยคนนักจะทราบว่าพีระมิดแห่งกิซ่านั้น แท้จริงแล้วควรจะมีสีขาวเปล่งประกายมาก่อน

แต่ที่พีระมิดแห่งกิซ่ามีสภาพแบบที่เราเห็นทุกวันนี้นั้น เกิดจากการที่อิฐบางส่วนของพีระมิดถูกรื้อออกไปในช่วงศตวรรษที่ 14 เพื่อนำไปใช้สร้างป้อมปราการใกล้ๆ เมืองไคโรนั่นเอง

 

 

นี่เป็นบล็อกหินปูนจากเมืองทูรา หินปูนคุณภาพสูงที่ถูกใช้ปิดบังบล็อกหินปูนคุณภาพต่ำสีน้ำตาลเหลืองที่อยู่ด้านใต้อีกที ดังนั้นเมื่อที่บล็อกหินปูนเหล่านี้ถูกเอาออกไป พีระมิดจึงมีสภาพเป็นสีน้ำตาลเหลืองดูสกปรกแบบในปัจจุบัน

เท่านั้นยังไม่พอเพราะการฝืนขนย้ายหินตรงส่วนฐานออกไป ยังทำให้หินชั้นนอกของพีระมิดค่อยๆ พังทรายลงมาจนเกิดเป็นเศษหินที่ฐานของพีระมิดอย่างที่เราอาจจะเห็นในภาพถ่ายบางใบไป

 

 

เป็นไปได้ว่าเหตุผลที่ฟาโรห์คูฟูแห่งราชวงศ์ที่ 4 สั่งให้มีการทำพีระมิดให้เป็นสีขาวนั้น น่าจะมาจากความคิดที่ว่า สีขาวนั้นสะท้อนแสง ดังนั้นการทำพีระมิดให้เป็นสีขาวก็น่าจะทำให้มองเห็นได้จากระยะไกลนั่นเอง

อันที่จริงแล้วราชวงศ์ที่ 4 เองก็ไม่ใช่ราชวงศ์แรกของอียิปต์ที่มีการทำพีระมิดแต่อย่างใด เพราะหากพูดถึงพีระมิดที่เก่าแก่ที่สุดจริงๆ แล้ว จะต้องเป็นพีระมิดโจเซอร์หรือพีระมิดแห่งซักการาซึ่งเป็นฝีมือของราชวงศ์ที่ 3 แห่งอียิปต์ต่างหาก

 

 

อย่างไรก็ตามหากเทียบกันแล้วพีระมิดของราชวงศ์ที่ 3 (รวมไปถึงพีระมิดแห่งดาชูร์ด้วย) มักจะมีปัญหาเกิดกับการก่อสร้างจนทำให้การสร้างพีระมิดไม่เสร็จหรือออกมาไม่ดีอย่างที่ควรไป

ด้วยเหตุนี้เอง ภาพลักษณ์ของพีระมิด “ที่แท้จริง” ในสายตาของหลายๆ คนจึงกลายเป็นพีระมิดที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ที่ 4 ไปต้นไปแทนนั่นเอง

 

 

และถึงแม้ว่ามหาพีระมิดแห่งกิซ่า อาจจะไม่ได้ขาวสวยเหมือนกับแต่ก่อนแล้วก็ตาม แต่สถานที่แห่งนี้ก็ยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ หาสิ่งใดเปรียบไม่ได้อยู่ดี

 

ที่มา ancient-origins

Comments

Leave a Reply