นักวิจัยสร้างโมเดล 3 มิติของ “พูมาพันกู” ไขความเชื่อที่ว่า ที่นี่ถูกสร้างโดยมนุษย์ต่างดาว

เคยได้ยินเรื่องของ “พูมาพันกู” กันมาก่อนไหม นี่เป็นซากปรักหักพังของกำแพงขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในวิหารโบราณติวานากูในประเทศโบลิเวีย และมีโครงสร้างที่แปลกประหลาดมากจนชาวอินคาสมัยก่อนไม่น่าจะสร้างได้

 

 

นั่นทำให้ที่ผ่านมามีคนหลายคนที่เชื่อกันว่าพูมาพันกูนั้นน่าจะถูกสร้างโดยบางสิ่งบางอย่างที่ “ไม่ใช่มนุษย์” จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้

เพราะล่าสุดนี้เอง ทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียก็ได้ทำการสร้างวิหารติวานากูแบบจำลองขึ้นมาอีกครั้งด้วยเทคโนโลยีสามมิตินั่นเอง

 

 

โดยโมเดลที่เห็นนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของพูมาพันกูที่ถูกเก็บมาอย่างยาวนานของเหล่านักโบราณคดี ตั้งแต่ที่กำแพงดังกล่าวถูกค้นพบ และรวบรวมกันเป็นโมเดลสามมิติที่มีขนาด 4% ของสถานที่จริง

แต่โมเดลที่ออกมานั้น ไม่ใช่ผลงานเพียงอย่างเดียวของนักวิจัยกลุ่มนี้ นั่นเพราะในระหว่างการสร้างโมเดลนี้ขึ้นมา พวกเขายังได้พบกับหลักฐานที่ว่าพูมาพันกูนั้น ไม่น่าจะสร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ต่างดาวอีกด้วย

 

 

นั่นเพราะเดิมทีแล้ว ชิ้นส่วนของพูมาพันกูไม่ได้มีความใกล้เคียงกับโบราณสถานอื่นๆ เลยจนทำให้มีคนจำนวนมาก คิดว่าสิ่งที่พบนั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ไป

อย่างไรก็ตามในระหว่างการประกอบโมเดลจากข้อมูลที่มี ทีมวิจัยก็พบว่า โครงสร้างของตัววิหาร มีความใกล้เคียงกับโบราณสถานใกล้เคียงกันอีกสองแห่งมาก เพราะเดิมทีแล้วตัววิหารที่เห็นน่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างรูปร่างตัว T (แบบรูปข้างบน) มากกว่า

ส่วนวัตถุรูปตัว H ที่พบเองจริงๆ แล้วก็เป็นประดูหรือหน้าต่างที่แกะขึ้นจากหินขนาดใหญ่ก้อนเดียวด้วย

 

สภาพของพูมาพันกูในปัจจุบัน

 

Alexei Vranich หนึ่งในทีมวิจัยเล่าว่า อุบัติเหตุหลายๆ อย่างตลอดช่วงหลายร้อยปีหลังจากที่มีการค้นพบ บวกกับการบูรณะที่ไม่ดีในปี 2006 ทำให้พูมาพันกูมีรูปร่างเปลี่ยนไปจากที่มันควรจะเป็นมาก ถึงขั้นที่ว่าตำแหน่งของหินที่เราเห็นในปัจจุบันนั้น ไม่มีชิ้นไหนเลยที่อยู่ในที่ที่มันควรเป็น

เท่านั้นยังไม่พอเพราะรายละเอียดของการบูรณะในปี 2006 ยังแทบที่จะไม่มีเขียนเอาไว้เลยด้วย ทำให้การสร้างโมเดลสามมิติออกมานั้น เป็นไปได้อย่างยากลำบากสุดๆ

 

สภาพของวิหารอย่างที่ (คาดว่า) ควรจะเป็น

 

เป็นไปได้ว่าในสมัยก่อน สิ่งปลูกสร้างที่ดูเหมือนประตูหน้าต่างเหล่านี้ จะถูกทำขึ้นโดยเรียงกันในตำแหน่งเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมเกิดความรู้สึกว่ามองเข้าไปในบางสิ่งที่ไร้ขีดจำกัด ทั้งๆ ที่มองเข้าไปในห้องห้องดียว (น่าจะคล้ายกับการมองกระจกที่สะท้อนกันเองไปเรื่อยๆ)

นั่นทำให้สถานที่แห่งนี้ยิ่งมีความเหมาะสมสำหรับการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมมากยิ่งขึ้นไปอีก

จริงอยู่ว่าการสร้างสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อนอยู่บ้างก็ตาม แต่มันก็ยังคงอยู่ในขอบเขตความสามารถของคนในสมัยนั้นอยู่ดี

 

ที่มา livescienceancient-origins

Comments

Leave a Reply