ย้อนรอย 17 มิถุนายน 1939 การประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนด้วย “กิโยตีน” ครั้งสุดท้าย

เชื่อกันว่าหลายๆ คนคงจะรู้จักเครื่องประหารชีวิตที่ชื่อว่า “กิโยตีน” กันมาบ้าง เพราะนี่เป็นเครื่องประหารที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งของศตวรรษที่ 18 เลยก็ว่าได้

ว่าแต่เคยสงสัยกันไหมว่ากิโยตีนนั้น ถูกใช่เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน?

 

 

จริงอยู่ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจะมีข่าวว่าทางนาซีเอากิโยตีนออกมาประหารคนที่ต่อต้านพวกตนอยู่เป็นพักๆ แต่หากจะพูดถึงการประหารชีวิตอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายด้วยกิโยตีน เราก็คงต้องพูดถึงคดีของ Eugène Weidmann เท่านั้น

โดย Eugène Weidmann เป็นนักลักพาตัว และฆาตกรต่อเนื่องชาวฝรั่งเศส ผู้ต้องหาของคดี สังหารผู้หญิง 2 คน และผู้ชายอีก 4 คนในกรุงปารีส เมื่อปี 1937

 

Eugène Weidmann ในตอนที่โดนจับ

 

เขาถูกจับได้ในเวลาต่อมา ก่อนที่จะถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตในเช้าวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 1939 ด้วยกิโยตีน

นี่นับว่าเป็นการประหารชีวิตต่อหน้าประชาชนที่ห่างหายไปนานสำหรับชาวฝรั่งเศส ทำให้มีคนมากมายที่ตัดสินใจ เข้ามาชมการประหารชีวิตในครั้งนี้ โดยหนึ่งในนั้นมี “คริสโตเฟอร์ ลี” นักแสดงระดับตำนานที่ในเวลานั้นอายุเพียง 17 ปีด้วย

 

การเตรียมการกิโยตีนที่ใช้

(ซึ่งในภายหลังต้องมีการย้ายที่จัดการประหาร)

 

อย่างไรก็ตามแทนที่การประหารชีวิตในครั้งนี้จะจบลงไปด้วยดี ประชาชนที่มุงดูอยู่กลับทำตัวไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีประชาชนหลายคนที่พยายามเอาผ้าเช็ดหน้ามาซับเลือดของ Weidmann มาเก็บไว้เป็นที่ระลึก

ผลของความโกลาหลนี้ทำให้การประหารล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นมาก และทางการปารีสเองก็ถึงกับออกมาบอกว่าคนที่มามุงดูนั้นทำตัว “น่าขยะแขยง” เป็นอย่างมากเลย

 

สถานที่ประหารที่ถูกใช้งานจริงๆ

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เจ้าหน้าที่เชื่อว่าการประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนไม่ได้ช่วยให้ผู้คนเกรงกลัวกฎหมายเลย แถมกลับกันการประหารชีวิตในรูปแบบนี้ยังรังแต่จะทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ๆ ของตนออกมาอีกด้วย

 

วินาทีที่ใบมีดถูกปล่อย

 

นั่นทำให้ประธานาธิบดี Albert Lebrun แห่งฝรั่งเศสประกาศหยุดการประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนทั้งหมดทันที และแน่นอนว่าในเวลาเดียวกันกิโยตีนก็ถูกปลดออกจากการเป็นเครื่องประหารชีวิตไป

 

ที่มา rarehistoricalphotos

Comments

Leave a Reply