พบเครื่องประดับศีรษะเก่าแก่อายุกว่า 50,000 ปีในไซบีเรีย และทำมาจาก “งาช้างแมมมอส”

เป็นเรื่องที่รู้กันว่าคนสมัยก่อนอาจจะเอาพวกซากสัตว์ที่ล่าได้มาทำเป็นเสื้อผ้าหรืออาวุธอย่างที่เห็นกันในเกมหรือภาพยนตร์ ว่าแต่รู้หรือไม่ว่านอกจากเสื้อผ้าและอาวุธแล้ว คนสมัยก่อนยังเอากระดูกสัตว์ไปทำเป็นเครื่องประดับด้วย

เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ที่ถ้ำเดนิโซวาน ในไซบีเรีย สถานที่ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานการอาศัยอยู่ร่วมกันของมนุษย์โฮโมเซเปียน มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล และมนุษย์เดนิโซวานในอดีต ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณชิ้นใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง

 

 

นี่เป็นวัตถุโบราณที่มีรูปร่างคล้ายรัดเกล้า หรือมงกุฎ ที่ทำขึ้นจากงาช้างแมมมอสที่ถูกเจาะปลายทั้งสองเพื่อรอยเชือก และมีอายุมากถึง 50,000 ปี

นั่นทำให้รัดเกล้าชิ้นนี้ นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องประดับศีรษะที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมาในโลกเลยทีเดียว

 

 

รัดเกล้าที่พบนี้ เชื่อกันว่าทำขึ้นมาโดยมนุษย์เดนิโซวาน ซึ่งเคยมีหลักฐานการทำเครื่องประดับอย่างกำไลข้อมือ หรืออุปกรณ์อย่างเข็มจากงาช้างมาแล้ว และเคยมีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะผุพังไป และถูกนำมาทิ้งยังสถานที่ที่ค้นพบ

เป็นไปได้ว่าเดิมทีแล้วรัดเกล้าชิ้นนี้จะเคยมีรูปร่างโค้งมากกว่านี้มาก่อน จากการทำให้โค้งงอด้วยฝีมือผู้สร้าง แต่ก็ยืดตรงขึ้นไปเอง หลังจากที่ถูกนำมาทิ้งไว้ตามกาลเวลา

 

 

ในเบื้องต้นนักโบราณคดีเชื่อกันว่ารัดเกล้าชิ้นนี้ น่าจะออกแบบมาให้ผู้ชายใช้งาน เนื่องจากขนาดของวัตถุโบราณที่พบนั้นค่อนข้างใหญ่ จนการที่จะใส่มันให้พอดีนั้น จำเป็นจะต้องมีศีรษะที่ใหญ่ตามไปด้วย

และแม้ว่ารูปร่างของมันจะคล้ายแผ่นป้องกันศีรษะก็ตาม แต่นักโบราณคดีก็คาดว่าวัตถุชิ้นนี้ ไม่น่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการต่อสู้เท่าไหร่

ในทางกลับกัน พวกเขาคิดว่านั้นอาจจะเป็นของที่สืบทอดกันในตระกูลของคนสมัยก่อน เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของบุคคลพิเศษในสมัยนั้น

 

 

จริงอยู่ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการขุดพบเครื่องประดับที่ทำจากกระดูกของสัตว์ แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบเครื่องประดับศีรษะที่เก่าแก่ขนาดนี้ในโลก และเป็นตัวอย่างที่ดีของความสามารถในการประดิษฐ์ผลงานของคนสมัยก่อนเลยนั่นเอง

 

ที่มา ancient-origins และ iflscience

Comments

Leave a Reply