พบเชื้อกาฬโรคโบราณอายุกว่า 5,000 ปี ที่สวีเดน เชื่อทำคนยุคหินตายเป็นจำนวนมาก

เมื่อผู้ถึงสิ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการขุดค้นสิ่งของจากสมัยก่อน บางคนก็อาจจะนึกถึงเรื่องเกี่ยวกับโรคระบาดขึ้นมาเป็นอย่างแรกๆ เพราะใครจะไปรู้ว่าเชื้อโรคในสมัยก่อนจะส่งผลอย่างไรกับคนในปัจจุบันบ้าง

แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากตัวเชื้อโรคเอง ดันกลายเป็นส่วนสำคัญของการค้นพบไปเสียนี่

 

 

เพราะล่าสุดนี้เองที่ประเทศสวีเดน ได้มีการค้นพบร่องรอยโรคระบาดเก่าแก่ ที่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในการค้นพบโรคระบาดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมาของมนุษย์เลยนั่นเอง

เจ้าโรคระบาดที่ว่านี้ถูกพบอยู่ในร่างของหญิงสาวอายุราวๆ 20 ปี ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อราวๆ 5,000 ปีก่อน พร้อมๆ กับชาวบ้านชุมชนเกษตรกรรมในชนบทอีกราวๆ 78 คน ในพื้นที่ Gökhem ทางตะวันตกของประเทศสวีเดน

โดยนี่เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นจากแบคทีเรียเยอซิเนีย เพสติส (Yersinia pestis)  ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในสัตว์หลายชนิด และก่อให้เกิดกาฬโรค โรคติดต่อที่น่ากลัวที่สุดอันหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์

 

 

นั่นหมายความว่ากาฬโรคนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยยุคหินเลยนั่นเอง ซึ่งถือว่ามีมานานกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้พอสมควรเลย (เดิมทีแล้วเราคิดว่ากาฬโรคมาจากยุคสัมฤทธิ์)

แต่นี่ไม่ใช่ข้อมูลเพียงอย่างเดียวที่เราได้รับจากการค้นพบในครั้งนี้ เพราะจากคำบอกเหล่าของทีมนักโบราณคดี โรคที่พบนี้เกิดขึ้นมาก่อนการอพยพเข้ามาของชาวเอเชียในอดีตเสียอีก

นั่นทำให้ความเป็นไปได้ที่ว่าชาวเอเชียในอดีตเป็นผู้นำกาฬโรคมาในยุโรป ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แถมในทางกลับกันนักวิทยาศาสตร์ยังบอกอีกว่าเป็นไปได้ที่กาฬโรคจะเกิดขึ้นมาในการตั้งถิ่นฐานของคนยุโรปเองเลย

 

 

เพราะในสมัยนั้นชุมชนที่ตั้งขึ้นน่าจะมีความแออัดสูง บวกกับมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดร่วมกันทำให้สุขอนามัย อยู่ในระดับที่ต่ำจนเกิดโรคระบาดได้ง่าย

เท่านั้นยังไม่พอเพราะจากการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของประชากรมนุษย์ในช่วงยุคหินเอง ก็แสดงให้เห็นว่าในอดีตเองก็คงจะมีการระบาดอย่างหนักของกาฬโรค ที่อาจจะมีความรุนแรง มากกว่าหรือเท่ากับแบล็กเดดในยุคกลางเลยก็เป็นได้

 

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ว่ามานี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการสันนิษฐานของนักโบราณคดี กับนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น และหากสามารถหาร่องรอยของโรคระบาดในกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานในยุโรปได้ มันจะเป็นหลักฐานอย่างดีที่จะมาสนับสนุนของทฤษฎีดังกล่าวต่อไป

 

ที่มา livesciencetheguardianiflscience

Comments

Leave a Reply