“คุณแม่ผู้อพยพ” ภาพที่สะท้อนความลำบากของผู้อพยพ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

ในปี 1936 โลกได้รู้จักกับภาพภาพหนึ่งที่มีชื่อเสียงขึ้นมาจนกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

 

 

มันเป็นภาพของแม่ลูกสามคน ซึ่งเป็นผู้อพยพเข้าประเทศสหรัฐฯ ที่อาศัยอยู่ในเต็นท์เก่าๆ และกำลังเจอมรสุมชีวิตจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ

สีหน้าท่าทางของเธอดูท้อแท้ ราวกับกำลังเครียดจากการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ จนไม่ได้สนใจเลยด้วยซ้ำว่าช่างภาพจะเก็บรูปของเธอไปเพื่ออะไร

นี่เป็นภาพที่ถ่ายไว้เอาไว้โดยช่างภาพสารคดีชาวอเมริกันชื่อ Dorothea Lange ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำงานให้ องค์กรบริหารจัดการความปลอดภัยในฟาร์มของรัฐบาลสหรัฐฯ

 

 

ภาพนี้ (ภาพแรกสุด) ถูกเรียกกันในภายหลังว่า “Migrant Mother” หรือ “คุณแม่ผู้อพยพ” และกลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงสุดๆ ไปจากการที่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้ชีวิตของผู้อพยพในประเทศได้เป็นอย่างดี

แต่ถึงแม้ว่าภาพดังกล่าวจะมีชื่อเสียงขนาดไหน กว่าที่ชื่อของหญิงสาวในภาพ จะกลายเป็นที่รู้จักของประชาชนก็เป็นเรื่องราวหลังจากนั้นราวๆ 40 ปี เลยทีเดียว

 

 

ชื่อของเธอคือ Florence Owens Thompson และเธอบอกว่า เธอมีความเห็นที่ค่อนข้างผสมกันเกี่ยวกับรูปถ่ายใบนี้

จริงอยู่ว่าเธอดีใจที่ภาพของเธอมีส่วนช่วยให้คนเข้าใจถึงความลำบากของผู้อพยพ แต่ในขณะเดียวกันภาพถ่ายภาพนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตเธอในตอนนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเลย

 

 

ถึงอย่างนั้นภาพนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ต่อตัวเธอเลยเสียทีเดียว เพราะในปี 1983 ที่ Florence ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทางครอบครัวของเธอก็ใช้ชื่อเสียงของเธอในภาพนี้ในการเรี่ยไรเงินค่ารักษาเพื่อมาช่วยเธอโดยเฉพาะ

น่าเสียดายที่แม้จะได้รับการรักษาอย่างดีแต่สุดท้ายพวกเขาก็ไม่สามารถรักษาชีวิตเธอเอาไว้ได้ เพราะสุดท้าย Florence ก็เสียชีวิตไปจากโรคหัวใจและมะเร็งในปีเดียวกัน

 

 

แต่แม้เธอจะจากไปแล้ว แต่ Florence ก็ยังคงเป็นภาพลักษณ์ของคุณแม่ที่สู้ชีวิต สมกับข้อความที่สลักบนหลุมศพของเธอว่า

“Florence Owens Thompson “คุณแม่ผู้อพยพ”

ตำนานความเข้มแข็งของความเป็นแม่แห่งชาวอเมริกัน”

 

ที่มา rarehistoricalphotos

Comments

Leave a Reply