ย้อนรอยโครงการอวกาศสหรัฐฯ กว่าจะไปถึงดวงจันทร์พวกเขาต้องเสียอะไรไปบ้าง

การที่โครงการอะพอลโลสามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้นั้น นับว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ ว่าแต่รู้หรือไม่ว่ากว่าที่ อะพอลโล 11 จะเกิดขึ้นได้นั้น โลกต้องเสียอะไรไปบ้าง

 

 

เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่าในช่วงสงครามเย็นสหรัฐฯ กับโซเวียตแข่งขันกันในการเดินทางสู่อวกาศ

แต่ทราบกันไหมว่าอีกหนึ่งในเหตุผลที่นาซาพยายามอย่างมากในการไปดวงจันทร์นั้น มาจากการที่พวกเขาอยากทำให้คำพูดของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีก่อนโดนลอบสังหารที่ว่าจะปล่อยจรวดให้ได้ก่อนหมดยุค 60 เป็นจริงนั่นเอง

 

จอห์น เอฟ. เคนเนดี เคยให้สัญญาไว้ในปี 1961 ว่าจะนำยานอวกาศที่ที่ดวงจันทร์ก่อนจบทศวรรษ

 

นั่นทำให้นาซาในเวลานั้นทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อให้โครงการอะพอลโลใกล้เคียงความจริงขึ้นมาอีกขั้น และนำไปสู่ความตายของนักบินอวกาศ และคนงานภาคพื้นดินเป็นจำนวนมาก

โดยหากพูดถึงนักบินคนแรกที่ต้องสละชีวิตในสายงานนี้จะเป็น Howard C. Lilly ชายคนที่สี่ของโลกที่เคยบินด้วยความเร็วทะลุกำแพงเสียง โดยเขาเสียชีวิตจากการบินทดสอบเครื่อง D-558-1 ในปี 1948

 

 

และราวๆ หนึ่งเดือนต่อมาเอง การทดลองสร้าง “Flying Wing” ในปี 1952 เองก็จบลงด้วยความตายของนักบิน 5 คนเช่นกัน

จริงอยู่ว่านั่นเป็นเรื่องก่อนที่จะมีการก่อตั้งนาซาขึ้นมาเสียอีก แต่ทีมงานหลายคนที่อยู่ในโครงการเหล่านี้ก็ถูกย้ายมาประจำการกับนาซาต่อไป

 

Glen W. Edwards (คนกลาง) หนึ่งในห้านักบินที่เสียชีวิตของ “Flying Wing”

 

แต่ถึงแม้จะโครงการนาซาจะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากประธานาธิบดีก็ตาม ความอันตรายของการเป็นนักบินอวกาศก็ไม่ได้ลดลงเลย

เพราะแม้แต่ นีล อาร์มสตรอง เองก็ยังเคยเกือบเอาชีวิตไม่รอดในการบินขึ้นอวกาศในกระสวยอวกาศ เจมินี 8 มาแล้ว แถมเจมินี 9 เองก็เกิดอุบัติเหตุจนทำให้นักบินทั้งสองเสียชีวิตอีกด้วย

 

นักบินทั้งสองของเจมินี 9

 

และแม้แต่ในโครงการอะพอลโลเอง ในปี 1946 ก็ต้องสูญเสีย Theodore Freeman หนึ่งในนักบิน 14 คนแรกของโครงการอะพอลโล ไปจากการที่เขาถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ T-38 ในระหว่างการฝึกบินเช่นกัน

แต่ถ้าหากจะให้พูดถึงหายนะที่เลวร้ายที่สุด ของโครงการอะพอลโลก็คงจะต้องพูดถึงเรื่องของ อะพอลโล 1 นั่นเอง เพราะกระสวยอวกาศลำนี้ฆ่านักบิน 3 คนของมันตั้งแต่ยังไม่ทันขึ้นบินเลยด้วยซ้ำ

 

นักบินของอะพอลโล 1 ที่เสียชีวิต

 

ดูเหมือนว่าในระหว่างการฝึกซ้อม จะมีประกายไฟเกิดขึ้น ทำให้ภายในยานที่มีทั้งออกซิเจนบริสุทธิ์ และวัตถุไวไฟหลายชนิดลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นทำให้มีคนมากมายมองว่าการไปดวงจันทร์อาจจะไม่คุ้มกับสิ่งที่ประเทศอาจจะต้องเสียไปก็เป็นได้ จนเกิดการประท้วงให้หยุดโครงการดังกล่าวในประเทศไปช่วงหนึ่งเลย

 

ด้านในของอะพอลโล 1  หลังจากเกิดเหตุ

 

นับว่าเป็นโชคดีของนาซามากที่ในเดือนกรกฎาคม 1969 การปล่อยจรวดอะพอลโล 11 นั้นเป็นไปได้อย่างดี ตามที่ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี หวังไว้ และสหรัฐฯ ก็กลายเป็นผู้นำทางอวกาศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

ที่มา history

Comments

Leave a Reply