พบโบราณสถานสำหรับประกอบพิธีกรรม 2 แห่ง ในทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก

ทะเลทรายอาตากามาเป็นทะเลทรายที่กินพื้นที่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี ซึ่งแม้ว่าจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุ แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลกเลยเช่นกัน

แต่ใครจะไปคิดล่ะว่าในพื้นที่สุดแห้งแล้งจนไม่น่าจะมีใครอาศัยอยู่ได้ นักโบราณคดีกลับค้นพบโบราณสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมโบราณเข้าได้

 

 

โดยนี้เป็นผลงานการค้นพบของกลุ่มนักโบราณคดีร่วม จากมหาวิทยาลัย Paris Nanterre ในฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัย Católica del Norte ในเปรูนั่นเอง

โดยนี่เป็นการค้นพบแหล่งโบราณคดีสองแห่ง ที่อยู่ห่างกันไม่ถึง 1 กิโลเมตร โดยแห่งหนึ่งมีอายุ 3,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งมีอายุถึง 5,000 ปีเลยทีเดียว

การค้นพบนี้นำมาซึ่งแนวคิดที่ว่าบางส่วนของทะเลทรายอาตากามานั้น อาจจะเคยเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มาก่อนก็เป็นได้

 

 

เพราะการที่คนจะอาศัยในที่แห่งนี้ได้ แถมยังมีชีวิตที่สุขสบายพอที่จะสร้างสถานที่ประกอบพิธีกรรม เป็นหลักฐานอย่างดีว่าอย่างน้อยๆ ในพื้นที่บริเวณนี้น่าจะเคยมีแหล่งน้ำมาก่อน

โดยในแหล่งโบราณคดีแห่งแรก (อายุ 3,200 ปี) มีการค้นพบอนุสาวรีย์หินขนาดใหญ่ และเครื่องประดับที่ทำจากทองคำจำนวนมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่านี่จะเป็นสิ่งที่คนในสมัยก่อนนำมาเป็นเครื่องบูชาต่อพระเจ้า

นอกจากนี้ในแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ยังมีการขุดพบโครงกระดูกทารก 28 ร่างที่ถูกฝังไว้พร้อมเครื่องประดับอีกด้วย

 

จุดที่มีการค้นพบทารก (ลูกศรสีดำ) และจุดที่มีการค้นพบเครื่องทอง (ลูกศรสีขาว)

 

ส่วนในแหล่งโบราณคดีอีกแห่ง (อายุ 5,000 ปี) ในตอนแรกถูกคิดว่าเป็นที่อยู่อาศัยของคนในสมัยนั้น แต่กลับไม่มีการพบบ้านอยู่เลย และมีเพียงแค่สถาปัตยกรรมที่ใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีแห่งแรกเท่านั้น

นั่นทำให้นักโบราณคดีลงความเห็นว่าแหล่งโบราณแห่งนี้ก็น่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเคยเดียวกัน

 

หนึ่งในเครื่องประดับที่พบในแหล่งโบราณคดีทั้งสองแห่งนี้

 

แต่ถึงแม้ว่าจะทราบว่าแหล่งโบราณทั้งสองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทั้งคู่ ในปัจจุบันนักโบราณคดีกลับยังไม่สามารถอธิบายได้เลยว่าพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในที่แห่งนี้มีรูปแบบเป็นอย่างไร

นอกจากนี้คนที่มาประกอบพิธีกรรมที่นี้แท้จริงแล้วอาศัยอยู่ที่ไหนก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิสูจน์กันต่อไปเช่นกัน

 

ที่มา livesciencedailymail

Comments

Leave a Reply