นักวิทยาศาสตร์พบ ไดโนเสาร์ “พาราซอโรโลฟัส” อาจเป่าเขาตัวเอง เหมือนเป็นทรัมเป็ต

ด้วยความที่ฟอสซิลไดโนเสาร์ส่วนมากที่มีการค้นพบบนโลกมักจะมีสภาพเป็นโครงกระดูก ดังนั้นคำถามที่ว่าเสียงร้องของไดโนเสาร์จริงๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นคำถามที่ตอบได้ค่อนข้างยาก แม้แต่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์เอง

แต่เมื่อไม่นานมานี้เองก็มีการค้นพบที่อาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์บอกได้ว่าเสียงร้องของไดโนเสาร์นั้นน่าจะเป็นอย่างไรจนได้ ถึงจะเป็นเพียงในหมู่ไดโนเสาร์จำพวก “พาราซอโรโลฟัส” ก็ตาม

 

 

โดยมีการค้นพบว่าไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัสนั้น จะเป่าเขาของตัวเองคล้ายทรัมเป็ต เพื่อสร้างเสียงร้องเรียกพวกนั่นเอง

ไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัสเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนปลาย และมักพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะเด่นอยู่ที่เขาซึ่งมีรูปร่างคล้ายหงอนที่ลู่ไปด้านหลัง

ซึ่งตัวอย่างเขาของพาราซอโรโลฟัสที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ก็เป็นของสายพันธุ์ที่ยังไม่มีการตั้งชื่อ ที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนศีรษะที่คล้ายคลึงกับเป็ดนั่นเอง

 

เขาของพาราซอโรโลฟัสสายพันธุ์ไร้นามที่ใช้ในการศึกษา

 

โดยจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนเจ้าเขาที่คล้ายหงอนของพาราซอโรโลฟัสจะมีลักษณะกลวง และเชื่อมไปยังหลอดลมของไดโนเสาร์ ทำให้พาราซอโรโลฟัสสามารถ “เป่าลม” ผ่านเขาได้นั่นเอง

จริงอยู่ว่าแนวคิดที่ว่าไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัสใช้เขาในการส่งเสียงนั้นมีมาก่อนหน้านี้ค่อนข้างนานแล้ว

อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้ก็ทำให้เราทราบได้ว่าแม้ในหมู่ไดโนเสาร์จำพวกพาราซอโรโลฟัสเอง หากมาจากคนละสายพันธุ์ก็จะมีรูปแบบของเสียงที่แตกต่างกันไปด้วย

 

เขาของพาราซอโรโลฟัสสายพันธุ์ไร้นามที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

 

เป็นไปได้ว่านี่จะเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นเพื่อใช้จำแนกพวกพ้องโดยเฉพาะ ซึ่งตัวไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่ยังไม่มีการตั้งชื่อนี้เองก็มีระดับค่าความถี่ของเสียงอยู่ที่ระหว่าง 48-75 เฮิรตซ์นั่นเอง

นี่นับเป็นการค้นพบที่น่าสนใจอันหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะในบรรดาฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ไม่มีเส้นเสียงเหลืออยู่นั้น พาราซอโรโลฟัสเป็นไดโนเสาร์เพียงไม่กี่ประเภทที่เราสามารถเรียนรู้เสียงร้องของมันได้

 

จากโครงกระดูกที่พบ พาราซอโรโลฟัสมีทั้งสายพันธุ์ที่เดิน 4 ขา และ 2 ขา

 

และหากเป็นไปได้ด้วยดี การศึกษาครั้งนี้ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการไขปริศนาเสียงของไดโนเสาร์ตัวอื่นๆ ต่อไปก็เป็นได้

 

ที่มา historylivescience

Comments

Leave a Reply